เปรียบเทียบสภาวะ
|
สมถภาวนา
|
วิปัสสนาภาวนา
|
สภาวะ (อาการของจิต)
|
เป็นไปด้วอำนาจของสมาธิ (จิตตั้งอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
|
เป็นไปด้วยอำนาจของปัญญา (รู้รูปนามขันธ์ ๕
รู้กฏอันเป็นไปตามธรรมดาของไตรลักษณ์)
|
ลักษณะ
|
มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวหรือความฟุ่งซ่าน
|
มีปัญญารู้แจ้งความจริงในสภาวธรรมทั้งปวง
|
กิจ
|
สามารถข่มนิวรณ์ ๕ ได้
|
สามารถจำจัดความไม่รู้ (อวิชชา)
ที่ปิดบังความจริงของสภาวธรรมทั้งปวงได้
|
สมาธิ
|
ใช้สมาธิระดับอุปาจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
|
ใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิ
|
องค์ธรรม
|
ใช้เอกัคคตาเจตสิก
|
ใช้ปัญญาเจตสิก
|
ประเภทของธรรม
|
จัดอยู่ในประเภทโลกิยธรรมเมื่อไม่ได้เจริญบ่อยๆ หรือไม่ได้ทำจนเป็นวสี ย่อมเสื่อมได้
|
จัดอยู่ในประเภทโลกุตรธรรมเมื่อได้เจริญถึงวิปัสสนาขั้นสูงคือ
มัคคจิตย่อมไม่เสื่อม
|
จิต
|
จัดเป็นมหัคคตจิต (จิตฌานลาภีบุคคลผู้ประเสริญเข้าถึงได้
|
จัดเป็นโลกุตตรจิต (จิตที่พ้นจากกามภูมิและอรูปภูมิ) มีนิพพานเป็นอารมณ์
|
นิมิต
|
นิมิต ๓
คือบริกรรมนิมิต
อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
|
ไม่มีนิมิตอย่ายได้อย่างหนึ่ง
|
ทวาร
|
ใช้เพียร ๔ ทวาร คือ
จักขุทวาร โสตทวาร กายทวาร
และมโนทาวร
|
ใช้ได้ทั้ง ๖ ทวารคือ
ปัญจทวารและมโนทวาร
|
ปหาน
|
ละกิเลสด้วยอำนาจของการข่มด้วยองค์ฌานเป็นการสงบชั่วขณะ ประดุจหินทับหญ้า เรียกว่า
วิกขัมภนปหาน
|
ละกิเลสชนิดที่ถาวรด้วยอำนาจของโลกุรตรมรรคหรืออมัคคจิต
เรียกว่าสุมจเฉทปหาน ละกิเลสเด็ดขาดไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก เรียกว่า
ปฏิปัสสัทธิปหาร กิเลสดับเสร็จแล้ว คือ
นิพพาน เรียกว่า นิสสรณปหาน
|
อารมณ์
|
ใช้อารมณ์บัญญัติ หรือสิ่งภายนอกร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์
๔๐ อย่าง
|
ใช้อารมณ์ปรมัตถ์ คือ รูป-นาม หรือสติปัฏฐาน ๔
อันเป็นที่ตั้งที่เกิดของวิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ๖ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น
|
การเพ่ง(ฌาน)
|
อารัมมณูปนิชิฌาน
การเพ่งด้วยจิตยึดมั่นในอารมณ์ได้แก่
ฌาน สมาบัติ
|
ลักขณูปนิชฌาน
การเพ่งพินิจลักษณะอารมณ์ให้เห็นไตรลักษณ์
|
ผลปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน)
|
ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ
|
มีความรู้
และความเห็นตรงความเป็นจริง
|
เหตุใกล้ (ปทัฏฐาน)
|
มีความสุขความพอใจในความสงบเมื่อใจเป็นสุขแล้วย่อมไม่ดิ้นรนกวัดแกว่งไปในกามคุณอารมณ์
|
มีสติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) รู้รูปนามในปัจจุบัน
|
จริต
|
มีจริต ๖ อย่างคือ
ราคจริต โทสจริต โมหจริต
ศรัทธาจริต พุทธิจริต และวิตกจริต การทำสมถต้องอารมณ์ให้เหมาะกับจริตนิสัยของผู้นั้น
|
มีจริต ๒ ประเภท คือ
ตัณหากับทิฏฐิ ในจริตทั้ง ๒ นี้ แยกย่อยออกไปอีกอย่างละ ๒ คือ
ตัณหาจริตที่มีปัญญาอ่อน
กับมีปัญญากล้าและทิฏฐิจริตที่มีปัญญาอ่อนกับทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า
|
บุคคล
|
เป็นบุคคลที่ปฏิสนธิด้วยไตยเหตุ
ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕
ไม่ประกอบด้ยวนิยตมิจฉาทิฏฐิ
|
เป็นบุคคลที่ปฏิสนธิด้วยไตยเหตุ
ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕
ไม่ประกอบด้ยวนิยตมิจฉาทิฏฐิ
|
วิธีปฏิบัติ
|
ใช้สติกำหนดหรือจับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๐ อย่าง
โดยให้จิตนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เพียงอารมณ์เดียวจนความสงบของจิตจะเกิดขึ้น
|
ใช้สติกำหนดตามทวารทั้ง ๖ ที่ปรากฏในขณะปัจจุบันกำหนดรู้พิจารณาอยู่เฉพาะการเกิดขึ้นและการดับไปของรูป-นาม
|
ผลและอานิสงส์ที่ได้รับ
อ้างอิง
พระครูปลัดสัมภิพัฒนธรรมาจารย์
|
-เข้าฌานสมาบัติได้
-ได้อภิญญา
-ทำให้จิตใจเกิตความสงบเยือกเย็นเป็นสุขจึงเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติติดอยู่กับความสงบความสุข ไม่สามารถใช้ปัญญาในการกำหนดรู้ทุกข์ และทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า
ความสงบที่เข้าถึงนั้น คือ พระนิพพาน
-ได้รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
-ไปเกิดในสุคติรหมโลก
แต่ยังต้องกลับมาเกิดใหม่อีกใน ๓๑ ภูมิ
|
-เข้าผลสามบัติได้
-ได้อภิญญา ๖
-ได้วิชชา ๘
-ปัญญารู้ความจริงตามสภาวธรรมเรียกว่า วิปัสสนาญาณ
-ได้มรรคผล นิพพาน คือไม่ต้องกลับมาเกิดอีกใน ๓๑ ภูมิ
หรือในสังสารวัฏฏทุกข์ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา
|
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เปรียบเทียบสภาวะ สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น