นิทเทศ ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
(มี ๓๑ เรื่อง) ตอนที่ ๑
การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ;
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ แล.
- ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.
อาการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์
(สายแห่งปฏิจจสมุปบาท)
ภิกษุ ท. ! ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี สังขาร ;
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมี วิญญาณ ;
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมี นามรูป ;
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมี อายตนะหก ;
เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ผัสสะ ;
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมี เวทนา ;
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ตัณหา ;
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี อุปาทาน ;
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ภพ ;
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ชาติ ;
เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. การก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น
ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น) ดังนี้ แล.
- นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๒.
วิภาคแห่งปฏิจจสมุปบาท
ภิกษุ ท. ! ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ชรา คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไป แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่า นั้น ๆ ; นี้เรียกว่า ชรา.
ภิกษุ ท. ! มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? มรณะคือ การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ ; นี้ เรียกว่า มรณะ ; ด้วยเหตุนี้แหละ ชราอันนี้ด้วย มรณะอันนี้
ด้วย. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.
ภิกษุ ท. ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ชาติ คือ การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชาติ.
ภิกษุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภพมีสามเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ภพ.ภิกษุ ท. ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อุปาทานมีสี่อย่าง เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า อุปาทาน.
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งตัณหา มีหก อย่าง เหล่านี้ คือตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหา ในโผฏฐัพพะ และตัณหาในธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ตัณหา.
ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนา มีหก อย่าง เหล่านี้ คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู เวทนา เกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนาเกิดแต่สัมผัสทาง กาย และเวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า เวทนา.
ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งผัสสะ มีหกอย่าง เหล่านี้ คือ สัมผัสทางตา สัมผัสทางหู สัมผัสทางจมูก สัมผัสทางลิ้นสัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! อายตนะหก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งอายตนะมีหกอย่าง เหล่านี้คือ อายตนะคือตา อายตนะคือหู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย และอายตนะคือใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าอายตนะหก.
ภิกษุ ท. ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? นาม คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ. นี้ เรียกว่า นาม. รูป คือ มหาภูตทั้งสี่ด้วยและรูปที่ อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย. นี้ เรียกว่า รูป. ด้วยเหตุนี้แหละ นามอันนี้ด้วย รูป
อันนี้ด้วย. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า นามรูป.
ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนา มีหก อย่าง เหล่านี้ คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู เวทนา เกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนาเกิดแต่สัมผัสทาง กาย และเวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า เวทนา.
ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งผัสสะ มีหกอย่าง เหล่านี้ คือ สัมผัสทางตา สัมผัสทางหู สัมผัสทางจมูก สัมผัสทางลิ้นสัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! อายตนะหก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งอายตนะมีหกอย่าง เหล่านี้คือ อายตนะคือตา อายตนะคือหู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย และอายตนะคือใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าอายตนะหก.
ภิกษุ ท. ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? นาม คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ. นี้ เรียกว่า นาม. รูป คือ มหาภูตทั้งสี่ด้วยและรูปที่ อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย. นี้ เรียกว่า รูป. ด้วยเหตุนี้แหละ นามอันนี้ด้วย รูป
อันนี้ด้วย. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า นามรูป.
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณ มีหกอย่างเหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า วิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลายเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความไม่รู้อันใดเป็นความไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์, ละเป็นไม่รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า อวิชชา.
ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนาม รูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็น ปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
- นิทาน. สํ. ๑๖/๒-๕/๕-๑๗.
ปัจจัยแห่งอวิชชา
ภิกษุ ท. ! ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ ; ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี ; แต่ว่า อวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง. ภิกษุ ท. ! คำกล่าว อย่างนี้แหละ เป็นคำที่ใคร ๆ ๑ ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า “อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหา ใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา ? คำตอบพึงมีว่า “นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นอาหารของอวิชชา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติ มีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ ทั้งหลาย ๕ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ” ดังนี้.
๒. คำว่า วุจฺจติ คำนี้ เคยแปลกันแต่ว่า อันตถาคตย่อมกล่าว กันจนเป็นธรรมเนียมไปเสีย. ในที่นี้ พิจารณาดูแล้ว เห็นได้ว่าควรจะแปลว่าใคร ๆ ทุกคนที่เป็นผู้รู้ รวมทั้งพระองค์เองด้วย ควรจะกล่าว, หาใช่เป็นการผูกขาดเพราะไว้แต่พระองค์ผู้เดียวไม่.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติ มีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “การไม่สำรวมอินทรีย์” ดังนี้.
....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....
การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์ ;
ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการให้บริบูรณ์ ;
นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์.
ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งอวิชชานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และ บริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑.
[ตามปกติเราได้ยินได้ฟังสั่งสอนกันมาว่า อวิชชาไม่มีปัจจัย ในที่นี้ได้ตรัสว่า มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย ควรที่
นักศึกษาจะได้พิจารณาดูให้เป็นอย่างดี ว่ามีนิวรณ์เป็นปัจจัยหรืออาหาร เพราะมีประโยคว่า “อิทปฺป จฺจยา อวิชฺชา”
(ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑ บรรทัดที่สาม นับขึ้น)]
อาการเกิดแห่งความทุกข์
เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย, จึงเกิดจักขุวิญญาณ ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณี แห่งจักษุ).
- สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๑/๑๖๓.
อาการทุกข์เกิดขึ้นจากเบญจขันธ์
ภิกษุ ท. ! ความเป็นสมุทัยแห่งรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? และความเป็นสมุทัยแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อม
เมาหมกอยู่. เขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่ง รูป. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในรูป ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทาน ของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ;
เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่ง เวทนา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในเวทนา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิด มีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และ อุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วย อาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่ง สัญญา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในสัญญา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิด
มีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และ อุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร ทั้งหลาย, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น, ความเพลินใดในสังขารทั้งหลาย ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมี
ภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ, นันทิ(ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.
อาการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะยึดถือเบญจขันธ์
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ในโลกนี้ ย่อมตามเห็นซึ่ง รูป ว่า “นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้. รูปนั้น
ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแก่เขา ; โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ย่อมปรากฏแก่เขา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแห่งรูป. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสอย่างเดียวกัน).
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔/๓๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น