วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้

ภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (อมาตาปุตฺติกภย)
ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง.
๓ อย่างคือ :-
มีสมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ตั้งขึ้น ไหม้หมู่บ้าน ไหม้นิคม ไหม้นคร.ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้),บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่หนึ่ง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มหาเมฆ
ตั้งขึ้น เกิดน้ำท่วมใหญ่ พัดพาไปทั้งหมู่บ้าน ทั้งนิคม ทั้งนคร.
ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้),
บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สอง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มีภัยคือการกำเริบ (กบฏ) มาจากป่า ประชาชนขึ้นยานมีล้อ
หนีกระจัดกระจายไป. เมื่อภัยอย่างนี้เกิดขึ้น สมัยนั้นมารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา(เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สาม.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง เหล่านี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันได้) แท้ ๆ๓ อย่างนี้ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้) ไปเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย. ! ภัย ๓ อย่าง ที่มารดาและบุตรช่วยกันได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
สามอย่าง คือ สมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ เป็นอย่างหนึ่ง,
สมัยที่น้ำท่วมใหญ่ เป็นอย่างที่สอง, สมัยที่หนีโจรขบถเป็นอย่างที่สาม; เหล่านี้บางคราวมารดาและบุตรก็ช่วยกันและกันได้ แต่ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับมากล่าวว่าเป็นภัยที่มารดาและบุตรก็ช่วยกันไม่ได้ไปเสียทั้งหมด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้(โดยแท้จริง) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่สามอย่าง คือ
ภัยเกิดจากความแก่ (ชราภยํ),ภัยเกิดจากความเจ็บไข้ (พฺยาธิภยํ),ภัยเกิดจากความตาย (มรณภยํ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! มารดาไม่ได้ตามปรารถนากับบุตรผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด บุตรของเราอย่าแก่เลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนากะมารดาผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่าเราแก่เองเถิด มารดาอย่าแก่เลย ดังนี้.
มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิดมารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิด มารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย ดังนี้.
มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิดบุตรของเราอย่าตายเลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนา
ว่าเราตายเองเถิด มารดาของเราอย่าตายเลย ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล เป็นภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ๓ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย
และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.
ภิกษุ ท. ! หนทางหรือปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘)นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้แหละหนทาง นี้แหละปฏิปทา
เป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย
และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๘ - ๒๓๑/๕๐๒.

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระอภิธรรม แปล

บทสวดพระอภิธรรมในงานศพ
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-24.htm

พระสังคิณี

กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา,
กตเม ธมฺมา กุสลา, ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ
กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ โสมนสฺสสหคตํ
ญาณสมฺปยุตฺตํ รูปารมฺมณํ วา สทฺทารมฺมณํ วา
คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา
โผฏฺพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํวา
ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ตสฺมึ สมเย
ผสฺโส โหติ อวิกฺเขโป โหติ เย วา ปนตสฺมึ
สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา
อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา ฯ

พระสังคิณี (แปล)
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล
ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด
กามาวจรกุศลจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณ เกิดขึ้น
ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี
รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ
ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น
มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น  ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.

พระวิภังค์

ปญฺจกฺขนฺธา รูปกฺขนฺโธ เวทนากฺขนฺโธ สญฺากฺขนฺโธ
สงฺขารกฺขนฺโธ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ฯ
ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ
ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา โอฬาริกํ วาสุขุมํ วา
หีนํ วา ปณีตํ วา ยํ ทูเร สนฺติเก วา
ตเทกชฺฌํ อภิสญฺญูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา
อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ ฯ

พระวิภังค์ (แปล)
ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม
อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์

พระธาตุกถา

สงฺคโห อสงฺคโห ,
สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ
สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สมฺปยุตฺเตนวิปฺปยุตฺตํ
วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ อสงฺคหิตํ ฯ

พระธาตุกถา (แปล)
การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้
การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน
การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้.

พระปุคคะละปัญญัตติ
ฉ ปญฺญตฺติโย ขนฺธปญฺญตฺติ อายตนปญฺญตฺติ
ธาตุปญฺญตฺติ สจฺจปญฺญตฺติ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ ปุคฺคลปญฺญตฺติ ฯ
กิตฺตาวตา ปุคฺคลานํ ปุคฺคลปญฺญตฺติ,
สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต
กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม ปริหานธมฺโม อปริหานธมฺโม
เจตนาภพฺโพ อนุรกฺขนาภพฺโพ
ปุถุชฺชโน โคตฺรภู ภยูปรโต อภยูปรโต
ภพฺพาคมโน อภพฺพาคมโน นิยโต อนิยโต
ปฏิปนฺนโก ผเลฏฺิโต อรหา อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ฯ

พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล)
บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ
อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร
มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้
ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้
ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้
ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา
ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย
ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง
ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์
ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์.

พระกถาวัตถุ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐนาติ ฯ อามนฺตา ฯ
โย สจฺฉิกฏฺโฐ ปรมฏฺโฐ ตโต โส โย สัจฉิกัฏโฐ โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ
สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐนาติ ฯ ,น เหวํ วตฺตพฺเพ ฯ อาชานาหิ นิคฺคหํ หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ
สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐน เตน วต เรวตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกฏฺโฐ ปรมฏฺโฐต โต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺฐปรมฏฺเฐนาติ มิจฺฉา ฯ

พระกถาวัตถุ (แปล)

(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ
(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง
(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ
(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด
ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว
ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่
เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น
คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่
เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.

พระยะมะกะ

เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูลา
เย วา ปน กุสลมูลา สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ
เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา
เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ

พระยะมะกะ (แปล)
ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล
รรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.

พระมหาปัฏฐาน
เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนฺตรปจฺจโย สมนนฺตรปจฺจโย
สหชาตปจฺจโย อญฺญมญฺญปจฺจโย  นิสฺสยปจฺจโย อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย
ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโยกมฺมปจฺจโย วิปากปจฺจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปจฺจโย
ฌานปจฺจโย มคฺคปจฺจโย สมฺปยุตฺตปจฺจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺถิปจฺจโย
นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย อวิคตปจฺจโย ฯ

พระมหาปัฏฐาน (แปล)

ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย
ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย
ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.


ธรรมะจากงานศพ

ธรรมะจากงานศพ

http://www.kruamas.com/html/death/grief/3-12.html

พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ), มาหัดตายกันเถอะ

ทุกครั้งที่มีงานศพ ท่านทั้งหลายคงเคยเห็นพระภิกษุในพุทธศาสนาไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอนั้น ก็อาจเข้าใจไปเสียว่าเป็นเรื่องของศาสนาที่จักทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าได้ศึกษาและสนใจในพระพุทธศาสนามาก็นานแล้ว ยังไม่เคยพบเรื่องใดอันเกี่ยวด้วยพิธีการศพเลย พบแต่เรื่องแสดงธรรมเทศนาเท่านั้น ทางพุทธศาสนาไม่มีพิธีสวดส่งวิญญาณของผู้ตาย หรือพิธีอื่นใดทั้งหมด ท่านผู้อ่านอาจนึกค้านว่าแล้วทำไมพระจึงไปสวดที่หน้าศพเล่า ขอให้เหตุผลดังต่อไปนี้ : -

๑. การสวดอภิธรรมหน้าศพนั้น จงเข้าใจว่ามิใช่เป็นการสวดผี - ศพ เพราะผีก็คือซากของคนตายแล้ว ถึงสวดก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ผี อันมีราคาประดุจท่อนซุง การที่นิมนต์พระไปสวดที่บ้านศพ ก็เพียงเพื่อบรรเทาความเศร้าโศกของเจ้าภาพเท่านั้น เพราะความพลัดพรากของรักของชอบใจเป็นความทุกข์ เรื่องจะดับทุกข์ได้ก็โดยการศึกษาให้รู้ความจริงของธรรมดา จะรู้ความจริงก็ต้องฟังจากเรื่องทางพระพุทธศาสนา แล้วจักดับโศกได้ นี่เป็นเหตุให้นิมนต์พระไปสวดอภิธรรมหน้าศพ แต่ผู้ฟังส่วนมาก ๙๙% ไม่เข้าใจว่าท่านสวดอะไร จึงมิได้สนใจฟังเลยกลายเป็นสวดผีตามที่พูดกันจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่า การสวดศพควรมีแต่นิดหน่อย แต่การเทศนาควรมีให้มาก เพราะได้รู้เข้าใจเหตุผล ในบางงานพระนั่งสวดอยู่สี่รูป ชาวบ้านนั่งเล่นหมากรุกกันบ้าง คุยสนุกกันบ้าง ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จักสวดไปทำไมไม่มีประโยชน์ นี่เป็นเหตุผลของการสวดหน้าศพ จำไว้ว่าเพื่อประโยชน์แก่คนเป็น มิใช่คนตาย เราจึงควรกระทำให้ถูกจุดหมาย

๒. แม้พิธีการอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ก็ไม่เคยมีมาแต่ครั้งพุทธกาล เป็นพิธีเพิ่มเข้าโดยความต้องการของความอยากได้ลาภบ้าง พวกอยากได้เกียรติยศชื่อเสียงบ้าง เรื่องความอยากต่าง ๆ ก็มีมาก อันทำความยุ่งยากแก่สังคมมนุษย์อยู่ไม่ใช่น้อย อันพิธีการเหล่านี้ ถ้าหากเป็นพุทธบัญญัติในคัมภีร์แล้ว ก็ต้องมีเหมือนกันหมด ทุกแห่งที่มีพุทธศาสนา แต่พิจารณาดูแล้วไม่เหมือนกันเลย ชาวลังกาทำอย่างหนึ่ง พม่าก็ไปอีกอย่างหนึ่ง ชาวไทยเราอย่างหนึ่ง จีนยังมีพิธีมากขึ้นไปอีก ญี่ปุ่นก็ทำไปอีกอย่างหนึ่ง เป็นไปตามความคิดความนิยมของท้องถิ่นของภาษาในถิ่นนั้น ๆ แต่เขาเอานักบวชในทางศาสนาเข้าไปด้วยเสมอ ก็เพื่อให้พิธีการกลายเป็นศักดิ์สิทธิ์และติดแบบเป็นธรรมเนียมของชาติเท่านั้น

มีสิ่งเหมือนกันในระหว่างชาวพุทธอยู่ก็คือ การบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การสดับพระธรรมเทศนาในงานศพเท่านั้น ส่วนพิธีอื่นนอกจากนี้เป็นพิธีของท้องถิ่นเท่านั้น เราอย่ายึดติดกันให้มากเกินไป ทำกันพอดีพองาม อย่าให้ถึงขนาดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หรือคนตายขายคนเป็นกันเลย

ทีนี้เราลองหันไปพิจารณาถึงสมัยอดีตกาลบ้างว่า เขามีพิธีจัดงานศพต่างกันอย่างไร ตามเรื่องที่มีมาในตำนานพระศาสนาอันเกี่ยวกับศพ

งานศพของพระพุทธบิดา

ในหนังสือกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงพระประชวร ก็ส่งข่าวไปยังพระพุทธเจ้าว่า ปรารถนาจะฟังธรรม พระพุทธองค์เสด็จมาเยี่ยม เมื่อเห็นว่าอาการมากแล้วคงไม่รอดจากความตาย จึงได้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เพื่อให้จิตได้เบิกบานด้วยรสแห่งพระสัทธรรม และพุทธบิดาก็ถึงแก่ความตาย เมื่อตายแล้ว พระศาสดาตรัสสั่งพระญาติและสาวกไปจัดที่เผา คือจัดกองฟืนเท่านั้น แล้วนำศพไปเผาในวันนั้นเอง โดยมิได้มีพิธีการแต่อย่างใดเลย นอกจากสรงน้ำพระศพห่อผ้าขาวใส่ในโลง นำไปเผาเท่านั้น ไม่มีธงหรือเครื่องแห่ ไม่มีการประโคมด้วยดนตรีนานาชนิด ไม่มีการเวียนพระเมรุ (เพราะไม่ได้ทำเมรุ) ไม่มีการทำปราสาทเพื่อเผาไฟ เป็นพิธีเผาอย่างง่าย ๆ และสิ้นเปลืองน้อยทุกอย่าง เผาแล้วก็ไม่ปรากฏทำอะไรต่อไปอีก แต่น่าจะมีการเก็บกระดูกเอาไปทิ้งน้ำในที่ใดที่หนึ่งตามประเพณีพื้นเมืองของอินเดีย

งานศพพระสารีบุตร

พระสารีบุตรเป็นมือขวาของพระศาสดา ในการช่วยพระองค์ประกาศศาสนาให้แพร่หลาย เป็นพระสาวกที่ทำงานมากคู่กันกับพระโมคคัลลานะ คำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นของพระมหาเถระรูปนี้อยู่ไม่น้อย ชีวิตของท่านเป็นตัวอย่างของนักบวชที่ทำประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ครั้นถึงคราวที่ท่านจักตาย ท่านรู้ตัวท่านเองดีแล้ว จึงไปทูลลาพระศาสดาเพื่อนิพพาน ทรงพระอนุญาตแล้วก็เดินทางไปบ้านเดิมของท่านที่ตำบลนาลันทาเพื่อเทศนาโปรดมารดาผู้ยังมีความเห็นผิดอยู่ และได้นิพพานที่นั่น พวกญาติก็จัดการถวายเพลิงศพอย่างง่าย ๆ และเก็บกระดูกห่อผ้าขาวนำไปถวายพระศาสดาที่เวฬุวัน จึงสั่งให้ก่อสถูปไว้ที่ทางสี่แพร่งเพื่อเป็นที่สักการะของประชุมชนต่อไป นี่ก็เป็นงานศพที่ง่าย ๆ ไม่มีพิธีอันใดเหมือนกัน

งานพระบรมศพของพระพุทธเจ้า

ในวันที่จักปรินิพพาน พระศาสดาเสด็จเดินทางจากเมืองเวสาลีผ่านหมู่บ้านเป็นลำดับ เพื่อจักไปนิพพานที่เมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ก่อนหมดลมหายใจพระอานนท์ได้ทูลถามว่า "เมื่อปรินิพพานแล้วจักปฏิบัติต่อพระสรีระโดยวิธีใด?" ตรัสตอบว่า " ดูก่อน อานนท์! พวกเธอผู้เป็นพระภิกษุบริษัท อย่าขวนขวายเพื่อการบูชาต่อสรีระของเราเลย อานนท์! เราขอเตือนเธอทั้งหลาย จงพยายามทำให้มากในประโยชน์ของเรา (คือ การทำตนให้พ้นจากกิเลส) จงมีความเพียรเป็นเครื่องแผดเผากิเลสบาปกรรมให้เบาลงไป มุ่งต่อที่สุดทุกข์โดยเสมอเถิด อานนท์เอ๋ย! การบูชาต่อสรีระของตถาคตนั้น มันมิใช่เป็นกิจเป็นหน้าที่ของภิกษุ แต่เป็นหน้าที่ของฆราวาสเขา พวกพระราชา พราหมณ์ ผู้มีศรัทธาในเรามีอยู่ เขาจักทำเอง หน้าที่โดยตรงของภิกษุคือการรีบทำความเพียรเพื่อถึงที่สุดทุกข์ แล้วจักได้ช่วยผู้อื่นต่อไป" ข้อความตอนนี้เท่ากับทรงย้ำไว้ให้พวกภิกษุเข้าใจว่าพระมีหน้าที่อย่างไร? พระศาสดาไม่ทรงชมเชยความฟุ่มเฟือย ที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ครั้นปรินิพพานแล้ว พวกมัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินาราเป็นเจ้าภาพ จัดแจงห่อพระศพด้วยผ้าขาวและสำลี ๕๐๐ ชั้น แล้ววางพระศพลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมันหอมปิดฝา เพราะเป็นพระศพของผู้ที่โลกบูชามาก จึงช้าอยู่ถึง ๖ วัน พอถึงวันที่ ๗ ก็นำไปถวายพระเพลิงนอกพระนคร นี่เป็นวิธีการเผาศพครั้งกระโน้น

งานศพท่านธัมมปาละ

ท่านธัมมปาละ เป็นลูกหัวปีของตระกูลเหวาวิตานในเกาะลังกา ครอบครัวนี้เป็นผู้มั่งมีมาก ไม่ใช่มีแต่เงิน มีคุณงามความดีด้วย บิดามารดาของท่านเป็นผู้รักและนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง เตรียมพร้อมเพื่อเสียสละ พระศาสนาในยุคนั้นกำลังมืดมัว เพราะถูกพวกศาสนาอื่นเบียดเบียน นายธัมมปาละหนุ่มน้อยได้มีใจเสียสละทุกอย่าง โดยยปฏิญาณตนเป็นพรหมจารี คือบวชแล้วทำงานกู้พระศาสนาโดยการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิขึ้น สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล เที่ยวเทศน์สอนคนให้พบแสงสว่างทั้งในลังกา ท่านได้ไปถึงยุโรปและอเมริกาเพื่อการประกาศธรรมะของพระพุทธเจ้า ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักของนักศึกษาทั่วโลก ผลงานที่ท่านทำกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่าของพระเถระของเราสิบรูปรวมกันเข้า โลกได้รู้จักพระพุทธศาสนามากขึ้นเพราะท่านผู้นี้ ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ พอใจในสิ่งที่พอยังชีพเท่านั้น ท่านไม่มีอะไรเป็นของท่าน ท่านทำงานเพื่อประชากรของโลก เมื่อร่างกายของท่านแก่ลงแล้ว ท่านบวชเป็นพระภิกษุ มอบงานให้ผู้อื่นทำต่อไป หันเข้าหาความสงบ และได้ถึงแก่กรรมที่สารนาถ อินเดีย ก่อนตายท่านสั่งไว้ว่า ท่านตายแล้วจงเผาศพอย่างง่าย ๆ ไม่ต้องจ่ายเงินทองให้เสียเปล่า จงเก็บเงินไว้เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากโรคใจเถิด เมื่อข่าวมรณะของท่านก้องไปทั่วทางวิทยุ โทรเลข แสดงความเสียใจนับจำนวนร้อยได้มาถึงสมาคม ในวันเผาศพไม่มีพิธีอย่างใดหมด นอกจากเพื่อนฝูงและคนนับถือไปประชุมเผากันอย่างเงียบ ๆ เป็นการไว้อาลัยท่าน อาลัยในผลงานของท่านเท่านั้น ไม่มีการทำอะไรฟุ่มเฟือยไร้สาระเลยสักนิดเดียว แต่งานของท่านยังไม่ตายติดอยู่กับโลกนี้เสมอ

พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้นำท่านไปดูงานศพในสมัยก่อนมามากแล้ว จุดหมายก็เพียงเพื่อชี้ชวนท่านทั้งหลายให้ได้รู้ได้เห็นว่า การทำศพของคนที่ฉลาดในเหตุผลนั้น เขาทำกันอย่างไร เขามองเห็นการณ์ไกลอย่างไร และเป็นการแนะนำให้เข้าใจว่า ประเพณีทำศพนั้นเป็นแต่ประเพณีพื้นบ้านโดยเฉพาะ หาเป็นเรื่องของศาสนาไม่ การมีพระเข้าไปเกี่ยวข้องบ้างนั้น ก็เพื่อระงับความโศกเศร้าของเจ้าภาพบ้าง เพื่อแนะนำในทางดีทางชอบบ้าง เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้อยู่ อันเป็นเหตุมาจากผู้ตายเท่านั้น เมื่อเข้าใจเหตุผลตามที่เป็นจริงแล้ว จักได้พิจารณากันถึงงานศพในสมัยปัจจุบันนี้บ้างว่า เป็นการดีชอบเพียงใด เสียไปเพียงใดบ้าง

การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ

http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-07.htm

คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร

ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว

ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)

ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้

๑ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒ การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ) เรื่องเจตสิก เรื่องอำนาจจิต เรื่องวิถีจิต เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ ไปได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง

๓ ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์ หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

๔ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนำไปสู่ การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

๖ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ

๗ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม

๘ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป

พระสวดอะไร....... ในงานศพ

Posted by กระถางธูป ,
หมวด : ไดอารี่
ปุจฉา (21)
http://www.oknation.net/blog/katangtup/2008/02/06/entry-5

เวลาไปงานศพ บ้างก็ว่าที่พระสวดนั้น พระสวดให้ผู้ตาย ฟัง คนที่ไปงานไม่ต้องพนมมือ บ้างก็ว่าท่านสวดให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ฟัง เลยต้องพนมมือ ความจริงแล้วในงานศพ พระท่านสวดอะไร

ให้ใครฟัง ก็คงจะไม่มีใครรู้เรื่องอยู่ดี เพราะสวดเป็นภาษาบาลี แล้วดังนั้นที่ถูกต้องจะต้องพนมมือหรือไม่ เพราะเหตุใดเจ้าคะ (ทำไมท่านอาจารย์ไม่แปลบทสวดมนต์ทั้งหลายให้เป็น

ภาษาไทย ทำนองเพราะๆ ที่ฟังเข้าใจง่ายแบบชาวคริสต์บ้างล่ะเจ้าคะ คนฟังจะได้รู้เรื่อง และจะได้ Get ในบทสวดมนต์มากยิ่งขึ้นค่ะ ตอนงานคุณแม่ พระที่วัดชลประทานฯ สวดมนต์จบ

เดียวแล้วก็แสดงธรรมเลย ชอบพิธีกรรมแบบนั้นมากค่ะ นั่งฟังเพลินดี ได้ประโยชน์ในการดึงสติตัวเองด้วย)
ปริษา/กรุงเทพฯ
วิสัชนา (21)
ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

(1) ความจริงถ้าสังเกตให้ดีปัญหาที่ถามมานั้น ก็มีคำตอบอยู่แล้วในตัวเอง เพราะคนที่จะสามารถ 'ฟัง' ได้นั้น จะต้องเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในกรณีนี้ก็หมายถึงคนที่ไปร่วมงานศพนั่นเอง ไม่ใช่คนที่นอนอยู่ในโลง

(2) บทสวดมนต์ที่พระนำมาสวดนั้นเรียกว่า 'พระอภิธรรม' มี 7 บทคือ 1.สังคิณี 2.วิภังค์ 3.ธาตุกถา 4.ปุคคลบัญญัติ 5.กถาวัตถุ 6.ยมก 7.ปัฏฐาน แต่ละบทเป็นเนื้อหาธรรมะเชิงวิชาการล้วนๆ ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป หรือบางทีแม้แต่พระผู้สวดเองก็มีน้อยรูปที่จะเข้าใจ แต่ทั้งๆ ที่เข้าใจยากอย่างนั้น แต่ทำไมท่านก็ยังนำมาสวด หลายคนคงอยากทราบเหตุผล
ข้อนี้เป็นแง่ ในทัศนะของผู้เขียน ( ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ) เข้าใจว่าเพื่อให้คนทั่วไปได้ฟังไว้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภายหน้ า หรือเป็นเพราะว่าท่านต้องการรักษาแก่นธรรมเอาไว้ไม่ให้สูญ เพราะการที่พระจะต้องนำพระอภิธรรมมาสวดอยู่เสมอนั้น เป็นการบังคับอยู่ในตัวว่า พระจะต้องจดจำ หรือจะต้องศึกษาพระอภิธรรมให้ได้ มองในแง่นี้ก็ต้องถือว่าเป็นกุศโลบายที่แยบคายของบุรพาจารย์ท่านแต่ก่อนที่น่ายกย่อง เพราะหากไม่นำพระอภิธรรมมาบัญญัติไว้ให้เป็นบทสวดในงานศพ บางทีพระอภิธรรมอาจถูกลืมไปแล้วก็ได้ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมด้วยเหมือนกัน

(3) การฟังสวดพระอภิธรรมนั้น แม้เราจะยังไม่เข้าใจ แต่การได้ฟังไว้บ้างก็ยังเป็นผลดีอยู่นั่นเอง เพราะขณะฟัง หากตั้งใจฟังอย่างดี ก็ย่อมมีสมาธิได้เหมือนกัน การตั้งใจฟังสวดด้วยดี จนเกิดสมาธิจัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง เรียกว่า 'ภาวนามัย' คือบุญที่เกิดจากการฝึกจิต เมื่อเราตั้งใจฟัง เราก็ได้บุญ และน้อมอุทิศบุญที่เกิดจากการตั้งใจฟังสวดนี้เอง อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายอีกทีหนึ่ง คนที่มาร่วมงานศพ แต่ไม่ตั้งใจฟังสวด จะเอาบุญจากที่ไหนมาอุทิศให้ผู้วายชนม์

(4) การฟังสวดพระอภิธรรม หรือบทสวดมนต์อื่นๆ ก็ตาม ควรจะพนมมือไว้เสมอ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม และต่อพระสงฆ์ผู้สวด รวมทั้งเพื่อแสดงความเคารพ
( หรือให้เกียรติ ) แก่ผู้วายชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างฟังสวดพระอภิธรรม หากพนมมือจนเมื่อย ก็สามารถเอามือวางลงบนตักชั่วคราว แล้วอยู่ในอาการอันสงบสำรวม ฟังสวดพระอภิธรรมต่อก็ได้
(5) ว่าโดยหลักการแล้ว หลังสวดพระอภิธรรมจบ พระก็ควรจะเทศน์หรือแสดงพระธรรมเทศนา เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้น ท่านวางเป็นแบบแผนไว้ก็เพื่อใช้เป็นสื่อในการดึงคนเข้าหาธรรม แต่การแสดงธรรมนั้นไม่ใช่จะทำได้ง่าย หากไม่ใช่ภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถจริงๆ แล้ว ยิ่งพยายามแสดงธรรมอาจจะยิ่งทำให้คนฟังเบื่อการฟังธรรมไปเลยก็เ ป็นได้ ดังนั้น ในบางวัดที่ขาดพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรม ท่านจึงไม่เน้นการแสดงธรรม หากแต่เน้นการสวดเป็นหลัก เมื่อพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรมหายาก การสวดพระอภิธรรมก็เลยเน้นแต่การสวดแล้วก็จบแค่นั้น ล่วงกาลนานไป ก็เลยเกิดเป็นความเข้าใจขึ้นมาว่า ในงานศพจะมีแต่การสวดเป็นหลัก ไม่เน้นการเทศน์ ซึ่งนับว่านี่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของชาวพุทธในเ มืองไทย

6) ที่วัดชลประทานฯ นั้น พระเดชพระคุณเจ้าอาวาส คือ พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทะ) เป็นพระปัญญาชน เป็นพระนักปราชญ์ ที่ศึกษาพระพุทธศาสนามาเป็นอย่างดี มี ฐานันดรเป็นดังน้องชายในทางธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุองค์หนึ่ง จึงมีความรู้พระพุทธศาสนาที่หนักแน่นเป็นแก่นสาร จับสาระของพระพุทธศาสนาได้แม่นทั้งทางปริยัติและ

ปฏิบัติ พร้อมทั้งยังสอนให้ศิษยานุศิษย์ในวัดเป็นพระชั้นนำเช่นตัวท่านเ องด้วย ด้วยเหตุนี้ที่วัดชลประทานฯ จึงไม่ขาดพระนักเทศน์ผู้สามารถ งานศพที่จัดขึ้นในวัดชลประทานฯ

จึงไม่เน้นการสวดมากนัก หากเน้นการแสดงธรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมอย่างนี้นับว่าน่าอนุโมทนายิ่งนัก เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้นมีขึ้นก็เพื่อต้องการ 'นำคนเข้าสู่ธรรม' หากพิธีกรรม

ไม่สื่อธรรม พิธีกรรมนั้นก็แทบไร้ความหมาย แม้จะมีคุณค่าก็นับว่าน้อยนัก การที่ทางวัดวางเป็นหลักไว้ว่า พระจะต้องเทศน์ได้ ทำให้พระต้องตั้งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยให้รู้จริง การที่คฤหัสถ์มาวัดแล้วได้ฟังเทศน์ ทำให้ได้เรียนรู้ธรรมะไปในตัว ซึ่งนับว่าเป็นกำไรชีวิต และเป็นการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่แท้ของพิธีกรรมซึ่งทำหน้าที่เป็น 'สื่อ' นำคนเข้ามาสู่ธรรมดังกล่าวแล้ว

ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พิธีกรรม คือ สื่อที่จะนำคนเข้าสู่ธรรม

ถ้าพิธีกรรม ไม่นำคนเข้าสู่ธรรม หรือไม่เปิดโอกาสให้คนได้รู้จักธรรม พิธีกรรมนั้นๆ ก็ไร้ความหมาย พิธีกรรมอาจเป็นได้แค่ 'พิธีพราหมณ์' ที่ไม่มีแก่นสารอะไรในทางธรรมเอาเลย คงมีแต่การ

ทำไปอย่างนั้นเองพอเป็นพิธี ไม่รู้ว่าเพื่อใครและเพื่ออะไร การที่คนไทยส่วนใหญ่เบื่อพิธีกรรมในวัดก็เพราะพระ ( รวมทั้งชาวพุทธของเราเองด้วย ) ไม่สามารถสอดใส่สาระลงไปในพิธีกรรม

เหล่านั้นนั่นเอง
ทุกวันนี้ คนไทยก็เลยพากันไปติดอยู่ที่พิธีกรรมอันเป็นสื่อของธรรมเท่านั้ น พากันหลงลืมธรรมอันเป็นแก่นสารไปอย่างน่าเสียดาย ยามเราไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพ จึงไม่สู้ได้อะไร

มากมายนัก นอกจากฟังสวดจบแล้วก็กลับบ้าน หรือบางงานก็มีเลี้ยงข้าวต้มแล้วก็จบพิธีกรรมอย่างห้วนๆ ไม่มีอะไรในทางจรรโลงใจให้สูงส่งขึ้นมาเลย บางวัดมีคนไปร่วมงานศพเป็นพัน

ทั้งๆ ที่เป็นงานของผู้มีชื่อเสียง นั่นเป็นโอกาสดีที่สุดที่พระจะได้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก แต่พระก็เฉยเสีย ไม่เพียงแต่ไม่แสดงธรรมเท่านั้น บางทีแม้แต่ญาติโยมท่านก็ไม่เอ่ยปากทักทาย

ด้วยซ้ำไป เสียดายโอกาสในการแสดงธรรมเหลือเกิน

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้
หนึ่ง เป็นเพราะวัดนั้นขาดพระสงฆ์ผู้สามารถในการแสดงธรรมสอง เพราะเราละเลยแก่นสารตรงนี้มานาน จึงไม่มีใครมองเห็นคุณค่า ก็เลยเข้าใจกันว่า มางานศพเพื่อฟังสวดก็จบแล้ว ไม่มีอะไรมากกว่านั้น

(7) เรื่องการแปลบทสวดมนต์เป็นภาษาไทยให้ไพเราะและมีสาระนั้น ตั้งใจว่าจะทำอยู่แล้ว เคยคิดชื่อไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่า ' สวดเป็นก็เห็นธรรม ' คำถามแกมขอร้องข้อนี้ ผู้เขียนยินดี รับคำอาราธนา แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเสร็จเป็นรูปร่างอย่างที่อยากเห็นกัน
เรียกว่าบทสวดอภิธรรม หรือที่เราเรียกว่า งานสวดอภิธรรมศพ
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=529bff04d0b2d6d3

********************************
ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่า มีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่างๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะ มิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ทำให้เห็นสัจจธรรมที่แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพ จะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว

ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)

ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์ มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ ( คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว ) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

http://www.oknation.net/blog/dhammatoday

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

‪ชายเทวดา+หญิงเทวดา

‪‎ชายผี‬+หญิงผี ,
ชาย‬ผี+หญิงเทวดา,
ชายเทวดา‬+หญิงผี,
ชายเทวดา+หญิงเทวดา
....มาใน..จตุกฺก. อํ. ๒๑/๗๔/๕๓.
คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การอยู่ร่วม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
(๑) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี
(๒) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา
(๓) ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี
(๔) ชายเทวดา อยู่ร่วมกับหญิงเทวดา
‪#‎คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย‬ ! ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร ?
สามีในโลกนี้เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทิน
คือความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม มีใจอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน.
คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ชายผีอยู่ร่วมกับ หญิงผี อย่างนี้แล.
#คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายผีอยู่ร่วมกับ หญิงเทวดาอย่างไร ?
สามีในโลกนี้เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ ด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติ
ผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์อยู่ครองเรือน.
คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา อย่างนี้แล.
#คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร ?
สามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯอยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯด่าและบริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน.
คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี อย่างนี้แล.
#คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาอย่างไร ?
สามีในโลกนี้เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าไม่บริภาษสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือนคหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ชายเทวดาอยู่ร่วม
กับหญิงเทวดา อย่างนี้แล.
#คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! การอยู่ร่วม ๔ ประการนี้แล.
ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้ทุศีล เป็นคนตระหนี่มักด่าว่าสมณพราหมณ์ ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน.สามีเป็นผู้ทุศีล มีความตระหนี่ มักด่าว่าสมณพราหมณ์ ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ ภรรยานั้นชื่อว่าเทวดา
อยู่ร่วมกับสามีผี.
‪#‎สามีเป็นผู้มีศีล‬ รู้ความประสงค์ของผู้ขอปราศจากความตระหนี่ ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล มีความตระหนี่ มักด่าว่าสมณพราหมณ์ ชื่อว่าหญิงผีอยู่ร่วมกับสามีเทวดา.
ทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ ของผู้ขอมีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความ เจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกันรักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ครั้นประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว เป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวย
กามารมณ์เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๗๔/๕๓.

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กฐิน

การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

เขตกำหนดทอดกฐินการทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้

การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน ๓๐ รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ห้าประการคือ

๑) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
๓) ฉันคณะโภชน์ได้
๔) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
๕) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน

ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ

จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น

มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี

การทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือพระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว พระอารามหลวงอื่น ๆ จะได้รับ กฐินพระราชทาน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้ากฐินทาน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หรือเอกชนให้ไปทอด โดยรัฐบาลโดยกรมศาสนาจัดผ้าพระกฐินทาน และเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจจะถวายจตุปัจจัย หรือเงินทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้


ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐินถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิกาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน

การจองกฐิน

วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้

สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา

การนำกฐินไปทอด

ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำขบวนตามประเพณีนิยม

การถวายกฐิน

นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์

กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง

การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

คำถวายกฐิน
มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบเก่า และแบบใหม่ ดังนี้
คำถวายแบบมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (กล่าวสามหน)
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน)

คำกล่าวแบบธรรมยุต
อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกราลกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร

พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้

จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาง ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้

เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผุ้มาในการกฐิน

ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)

วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น

อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล

การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินน้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้

พิธีกรานกฐิน
พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร

เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้

ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบ

ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ

ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบ

ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร้จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้

"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)

คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต

ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา

(ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษษแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)

ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง

เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง

ต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน

อานิสงส์กฐินสำหรับพระ

ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ
1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด
โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย

คำถวายผ้ากฐิน อย่างมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า 3 หน)
แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"

คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย

อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย

แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ"

หมายเหตุ1

ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)

2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ


1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

หมายเหตุที่ 2

ความเป็นมาของธงจระเข้งานกฐิน

ยัง มีไม่น้อยที่ท่านไม่เข้าใจความหมายรูปจระเข้กับนางมัจฉา ข้าพเจ้าขอเรียนว่า เป็นธงหมายถึงการบุญทอดกฐินโดยเฉพาะ ซึ่งสมัยนี้ทางจังหวัดพระนครไม่ค่อยได้เห็น แต่ตามชนบทภาคกลางบางแห่ง ก็ยังใช้ธงเครื่องหมายประจำกฐิน ในยุคนี้ส่วนมากก็ใช้ธงธรรมจักรแทน และใช้ได้ทั่วไปในงานกุศล

เรื่องนี้สมัยที่ข้าพเจ้ายังเด็ก เคยเห็นมีการแห่กฐินไปทอดตามวัดนั้น ส่วนมากเขามีธงจระเข้กับนางมัจฉาซึ่งเอาลำไม้ไผ่ทำเป็นเสาธง โดยลิดกิ่งข้างล่างออกเอาไว้แต่ปลายกิ่งเล็กๆ อยู่บนยอด แล้วมีผ้าขาวกว้างประมาณศอกกว่า ยาวประมาณ ๒ เท่าของส่วนกว้าง หรือจะกว้างกว่ายาวกว่าก็ได้ เขียนรูปจระเข้และรูปนางมัจฉาด้วยหมึกสีดำ

ผ้าธงนี้เขาใช้เย็บข้างล่างและข้างบนเป็นช่อง เพื่อจะเอาไม้ขนาดนิ้วมือสอดเข้าไปให้ไม้โผล่ออกมา เพื่อใช้เชือกผูกโยงสองข้างเป็นสามเหลี่ยม ผูกติดปลายส่วนข้างล่าง สอดไม้ไว้เช่นกัน เพื่อให้ธงกางอยู่ตลอดเวลา

เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้วก็จะต้องเอาธงนี้ไปปักหน้าวัด เพื่อให้ผู้ที่ผ่านไปมารู้ว่าวัดนี้ได้ทอดกฐินแล้ว ผู้คนสมัยก่อนก็จะยกมือขึ้นอนุโมทนาในการกุศลกฐินด้วย ฉะนั้น ธงจระเข้และนางมัจฉานั้นจึงเป็นเครื่องหมายการกฐินที่จำเป็นสมัยก่อน เพราะเวลาแห่สามารถจะรู้ได้ว่าเป็นแห่กฐิน ผิดกว่างานบุญอื่นๆ หรือแห่ผ้าป่าก็นิยมทอดกันมาก

ธงจระเข้สมัยก่อนยังมีประโยชน์ เมื่อจวนเวลาจะสิ้นวันฤดูหมดหน้ากฐินแล้ว ก็จะมีหมู่ผู้ศรัทธาใจบุญจะใช้เรือเดินทางไปตามแม่น้ำลำคลอง ในเรือมีไตรเครื่องกฐินไปพร้อมและพร้อมที่จะทอดได้ทันที สมัยก่อนมีเพียงไตรเดียวก็ทอดได้

เมื่อเห็นว่าวัดไหนไม่มีธงจระเข้ปักไว้หน้าวัด ก็จะรู้ว่าวัดนั้นกฐินตกค้าง ทั้งไม่มีใครรับทอด ก็จะขึ้นไปหาท่านสมภาร เมื่อรู้แน่ว่าวัดนี้ไม่มีใครจองไม่มีใครทอด เมื่อเกินเวลาผ่านเลยไปแล้วก็จะเป็นกฐินตกค้างปี ท่านผู้ศรัทธาใจบุญก็จะจัดการทอดทันที แต่มีผ้าไตรครองผืนเดียวนอกนั้นก็ถวายปัจจัยและง่ายดีไม่ต้องมีพิธีอะไรมาก มาย

แต่ยุคนี้การทอดกฐินต้องเป็นกฐินสามัคคีส่วนมาก บางวัดพระอยากได้เงินเข้าวัดมากๆ ต้องสร้างโน่นสร้างนี่ ต้องรวมทุนทรัพย์เพราะทั้งโบสถ์และศาลาเก่าแก่กำลังจะผุพัง ต้องบอกบุญเรี่ยไรเป็นการใหญ่ นี่เป็นปัจจุบันนี้ ทำให้มนุษย์ใจบาปหยาบช้าไม่มีศาสนาสวมรอยทำชั่ว หลอกลวงพระและต้มชาวบ้านที่มีจิตศรัทธา ทำให้ศาสนามัวหมอง

กฐินส่วนบุคคลก็น้อยลงหายไป ธงจระเข้ก็หายไปด้วยมีธงธรรมจักรสีแดงพื้นเหลืองมาแทน เพราะใช้กับงานทางศาสนาได้ทุกอย่าง จึงแยกไม่ออกว่างานกฐินหรืองานบุญใด ฉะนั้น คนรุ่นหลังไม่รู้ความหมายของธงจระเข้มีความเป็นมาอย่างใด
ต้นเรื่องการเป็นมาของธงจระเข้งานกฐินนี้ ข้าพเจ้าได้รับคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ คล้ายนิยายตำนานของบ่อเกิดแห่งต้นเหตุ ท่านเล่านิยายโบรมโบราณให้ฟังว่า

ครั้งก่อนมีเศรษฐีเหนียวแน่นผู้หนึ่ง ไม่ชอบทำบุญให้ทาน อดทนต่อการกินอยู่ง่ายๆ ไม่ใช้จ่ายเท่าที่ควร ได้เงินก็ได้แต่เก็บไว้ ไม่ทำตัวเป็นคนบุญใจ คนมีก็เหมือนคนจนยากแค้น เพราะไม่ใช้เงินให้เป็นประโยชน์ มีแต่ความงกทรัพย์สิน ได้รวบรวมเงินทองใส่โอ่งนำไปฝังไว้ในที่ดินของตนอยู่ใกล้บ้านโดยไม่ให้ใคร รู้เห็น

แม้แต่บุตรภรรยาก็ไม่รู้ที่ฝังทรัพย์สมบัตินั้นใกล้กับลำแม่น้ำ ฉะนั้น เมื่อตนตายไปแล้วก็เกิดเป็นจระเข้คอยเฝ้าสมบัติ เป็นจระเข้ที่ดุร้าย เป็นเจ้าถิ่นใหญ่กว่าจระเข้ทั้งหลายอยู่ในแถบนั้น เพราะหวงสมบัติ

ต่อมาน้ำค่อยๆ เซาะตลิ่งพังลงทีละเล็กละน้อยจวนจะถึงที่ฝังสมบัติ จระเข้ตัวนั้นไม่รู้จะทำอย่างไรดี ถ้าตลิ่งพังก็จะทำลายทรัพย์สมบัติที่ตนได้อุตส่าห์หาได้แล้วนำมาฝังไว้ หากตลิ่งพังทรัพย์สมบัติตกลงไปในน้ำ สายน้ำก็จะพัดกระจัดกระจายไป ก็เป็นอันสุดสิ้นกัน เมื่อไม่มีทางรักษาสมบัติต่อไปได้ จระเข้ตัวนั้นก็ไปเข้าฝันลูกชายในร่างมนุษย์ผู้เป็นพ่อบอกว่า พ่อเดี๋ยวนี้เกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติ

แต่ บัดนี้ตลิ่งจะพัง กำลังจะทำลายทรัพย์สมบัติที่พ่อหามาได้ฝังไว้ จะพังลงน้ำหมดแล้ว ขอให้ลูกจงไปขุดเอาทรัพย์สินเหล่านั้น แล้วนำไปทอดกฐินและสร้างกุศลที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาต่อไป แล้วอุทิศกุศลกรวดน้ำไปให้พ่อด้วย จะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์เสียที ว่าแล้วก็บอกชี้ที่ฝังทรัพย์ให้ลูกชายให้รู้ที่ฝังทรัพย์ พร้อมด้วยมีเครื่องหมายบอกไว้ให้ตรงไปขุดตามที่พ่อบอก อย่าช้าให้รับจัดการ

เมื่อลูกชายตื่นขึ้นก็จำความฝันได้แม่นยำ นึกว่าพ่อเรานี่เป็นคนตระหนี่ แม้จะตายไปแล้วก็ห่วงทรัพย์สมบัติ จิตใจยังจดจ่อกังวลอยู่ในทรัพย์เงินทอง จึงต้องไปเกิดเป็นจระเข้คอยเฝ้าทรัพย์ ควรเราจะไปขุดนำมาทำบุญสร้างกุศล อุทิศเพื่อให้พ่อได้เกิดเป็นมนุษย์ต่อไป แล้วต่อมาลูกชายก็ไปขุดทรัพย์ ตามที่พ่อได้เข้าฝันบอกที่ฝังไว้ ก็ได้ทรัพย์สินจริงตามที่พ่อบอกทุกประการ ลูกชายก็ไปจองกฐินที่วัดแห่งหนึ่งใกล้น้ำ

เมื่อถึงหน้าฤดูกฐินน้ำหลาก ลูกชายก็จัดงานทอดกฐินแห่แหนทางน้ำสนุกสนาน มีเรือองค์กฐินตบแต่งสวยงาม มีธงจระเข้ปักไว้หน้าเรือและถือว่าเจ้าของกฐิน และนับว่าแปลกมหัศจรรย์ที่มีจระเข้ตัวใหญ่นำฝูงว่ายนำเรือกฐินไปถึงวัด แล้วก็จมหายไป

ในสมัยนั้นต่อมาชาวบ้านชาวเมืองพากันเชื่อแน่ว่า เมื่อมีธงจระเข้ปักไว้หน้าเรือกฐิน พวกสัตว์น้ำที่ดุร้ายก็ไม่ดุร้ายทำอันตรายคน ในงานกฐินสมัยก่อน วัดพุทธศาสนามักจะอยู่ริมน้ำ งานกฐินจึงมีการสนุกสนานด้วยการแข่งเรือพาย ทั้งชายหญิงหนุ่มสาวเขาว่ากันว่า แม้เรือจะล่มไปเวลานั้นพวกจระเข้ก็ไม่ทำอันตราย เพราะถือว่าจระเข้ที่มาเวลานั้นต่างมาโมทนากุศลกฐิน นี่เป็นเรื่องเก่าแก่โบรมโบราณเล่าต่อๆ กันมา

เมื่อจะถามว่าแล้ว “นางมัจฉา” มันเกี่ยวอะไรกับกฐินล่ะ ข้าพเจ้ายังหาที่มาตอบให้ทราบไม่ได้ แต่ก็เดาว่าการเขียนจระเข้ตัวแรกนั้นเป็นตัวผู้ ฉะนั้น การที่จะเขียนตัวเมียเป็นคู่คงแยกกันไม่ออก ดูก็ไม่รู้ในสายตาทั่วไป หรือผู้เขียนรูปจระเข้ก็นึกไม่ออกว่าผิดแปลกแตกต่างกันอย่างใดตรงไหน ในระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย ถ้าจะสมมุติก็ต้องเขียนตัวหนังสือไว้ใต้รูปว่าจระเข้ตัวผู้ และอีกตัวว่าจระเข้ตัวเมียเพื่อให้เป็นคู่กัน แต่มันออกจะรุ่มร่ามเกินไปก็คิดว่าควรเขียนนางมัจฉาให้เป็นคู่สมสู่กับ จระเข้ เห็นแล้วเข้าใจง่ายเห็นชัดว่าเป็นตัวเมีย

เห็นจะเป็นเหตุนี้ จึงมีนางมัจฉาคู่กับธงจระเข้ในสมัยก่อนตลอดมา แต่ในยุคปัจจุบันนี้เราไม่เห็นหรือจะมีข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ แต่สมัยก่อนมีขายตามร้านสังฆภัณฑ์ แถวเสาชิงช้า เรื่องธงกฐินสมัยก่อน ความหมายของธงกฐิน คิดว่าผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องหน้าปกหนังสืออนุสรณ์งานกฐินปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็คงจะพอเป็นทางที่เข้าใจบ้างไม่มากก็น้อย
ความเป็นมาของธงจระเข้งานกฐินอีกความเชื่อหนึ่ง

เมื่อพูดถึงทอดกฐินภาคกลางแล้ว ก็อดนึกถึงการทอดกฐินภาคอีสานไม่ได้ แม้ในยุคนี้ก็ยังถือเป็นประเพณีการทอดกฐิน บางรายทางภาคอีสานกลางคืนจะมีหมอลำมาแสดงฉลองกฐิน สิ่งที่น่าเศร้าก็คือในงานนี้มีการล้มวัวควายล้มหมู เพื่อเอาเนื้อมาปรุงเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงพระเลี้ยงคนอย่างสนุกสนาน ถ้าคิดแล้วก็จะเห็นได้ว่าสร้างบาปในงานบุญ ย่อมจะได้บุญกุศลไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องนัก ถ้าจะถามว่าทำไมต้องทำบาปในงานบุญ เขาก็จะแก้แย้งตอบว่า บ้านนอกบ้านนาถ้าไม่ฆ่าวัวฆ่าควายฆ่าหมูแล้ว จะเอาอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงคนมาจากไหน หาซื้อก็ไม่มี นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดควรจะหาทางแก้ไขต่อไป

การที่ข้าพเจ้าได้นำเอาต้นเหตุของธงกฐิน และสร้างบาปในงานบุญทางภาคอีสานมากล่าว เท่าที่ข้าพเจ้าได้ทราบเรื่องธงกฐินจากท่านผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และอาจมีตำนานที่ผิดแปลกแตกต่างกับคำที่ข้าพเจ้าได้บรรยายมานี้ เป็นธรรมดานิยายชาวบ้านแต่ละแห่งแต่ละตำบล ย่อมจะผิดมากน้อยต่างกันไป หากผู้ใดได้รู้ได้ทราบจะได้กรุณาให้ความรู้แจ่มแจ้งกว่านี้แก่ข้าพเจ้า เพื่อประโยชน์แก่เยาวชนต่อไปก็จะเป็นพระคุณยิ่ง หากที่ได้บรรยายมานี้จะผิดถูกประการใดขออภัยด้วย ข้าพเจ้าขอรับผิดแต่ผู้เดียว และขอบคุณท่านที่ได้ติดตามอ่านหนังสือชุดนี้ตลอดมา

ตำนานธงจระเข้นั้นเล่ากันว่า

นิทาน โบราณว่า เศรษฐีผู้หนึ่งเป็นคนขี้เหนียว ไม่เคยคิดทำบุญสร้างกุศล ชอบนำสมบัติ ไปฝังไว้ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน ครั้นตายลงจึงไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติของตน ได้รับความทุกขเวทนา จึงไปเข้าฝัน ภรรยาให้มาขุดสมบัติ ไปทำบุญกุศล ภรรยาจึงจัดให้มีการทอดกฐินขึ้น จระเข้เศรษฐีนั้นก็บังเกิดความยินดี ว่ายน้ำตามขบวนเรือแห่องค์กฐินไป แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดแรง ไปต่อไม่ไหว จึงบอกภรรยาให้วาดรูปจระเข้ ใส่ในธงไปแทน

ธงจระเข้นี้ทำขึ้นตามคติความเชื่อเป็นหลายนัยด้วยกัน คือ

๑. สมัยโบราณนิยมแห่ผ้ากฐินไปทอดตามวัดต่าง ๆ โดยอาศัยเรือเป็นสำคัญ การเดินทางไปตามลำน้ำมักมีอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ เนือง ๆ เช่น จระเข้ขึ้นมาหนุนเรือให้ล่ม ขบกัดผู้คนบ้าง คนแต่ก่อนหวั่นเกรงภัยเช่นนี้ จึงคิดอุบายทำธงจระเข้ปักหน้าเรือไปเป็นทำนองประกาศให้สัตว์ร้ายในน้ำ เช่น จระเข้ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และดุร้ายกว่าสัตว์อื่นๆ ในน้ำ ให้รับทราบการบุญการกุศล จะได้พลอยอนุโมทนาและมีจิตใจอ่อนลง ไม่คิดที่จะทำอันตรายแก่ผู้คนในขบวนซึ่งเดินทางไปประกอบพิธีการทางศาสนา

๒. เนื่องจากถือกันว่าดาวจระเข้เป็นดาวสำคัญ การเคลื่อนขบวนทัพในสมัยโบราณต้องคอยดูดาวจระเข้ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาจวนสว่างแล้ว การทอดกฐินเป็นพิธีทำบุญที่มีอานิสงส์ไพศาลเพราะทำในเวลาจำกัด มีความสำคัญเท่ากับการเคลื่อนขบวนทัพในชั้นเดิมผู้จะไปทอดกฐินต้องเตรียม เครื่องบริขารและผ้าองค์กฐินไว้อย่างพร้อมเพรียง แล้วแห่ไปวัดในเวลาดาวจระเข้ขึ้น ไปแจ้งเอาที่วัด ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงจระเข้โดยถือว่า ดาวจระเข้เป็นดาวบอกเวลาเคลื่อนองค์กฐิน

๓. มีเรื่องเล่าว่า มีอุบาสกคนหนึ่งนำองค์กฐินแห่ไปทางเรือมีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญในการทอด กฐิน จึงว่ายน้ำตามเรืออุบาสกนั้นไปด้วย แต่ไปได้พักหนึ่งจึงบอกแก่อุบาสกนั้นว่า ตนตามไปด้วยไม่ได้แล้วเพราะเหนื่อยอ่อนเต็มที ขอให้อุบาสกจ้างช่างเขียนภาพของตนที่ธง แล้วยกขึ้นไว้ในวัดที่ไปทอดด้วยอุบาสกรับคำจระเข้แล้วก็ทำตามที่จระเข้สั่ง ตั้งแต่นั้นมาธงรูปจระเข้จึงปรากฏตามวัดต่าง ๆ ในเวลามีการทอดกฐิน

อนึ่ง มีข้อความในจาตุมสูตรตอนหนึ่ง แสดงภัยที่จะเกิดกับพระไว้ ๔ อย่างด้วยกัน ซึ่งเปรียบด้วยภัยที่เกิดแก่บุคคลที่ลงในแม่น้ำหรือทะเล คือ

๑. ภัยเกิดแต่ความอดทนต่อโอวาทคำสอนมิได้ ท่านเปรียบเสมือนคลื่น เรียกว่า อุมฺมิภยํ
๒. ภัยเกิดแต่การเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากมิได้ท่านเปรียบเสมือนจระเข้ เรียกว่า กุมฺภีลภยํ
๓. ภัยเกิดแต่ความยินดีในกามคุณ ๕ ท่านเปรียบเสมือนวังน้ำวน เรียกว่า อาวฏฺฏภยํ
๔. ภัยเกิดแต่การรักผู้หญิง ท่านเปรียบเสมือนปลาร้ายเรียกว่า สุสุกาภยํ
พิจารณารูปธงที่ช่างประดิษฐ์ขึ้น จะเห็นว่ามีภัย ๔ อย่างอยู่ครบ ต่างแต่ว่าเด่นมาก เด่นน้อย หรือเป็นเพียงแทรกอยู่ในความหมายที่เด่นมาก คือ รูปจระเข้ รองลงไปคือ รูปคลื่น ส่วนอีก ๒ อย่างคือ รูปวังน้ำวนและปลาร้าย ปรากฏด้วยรูปน้ำเป็นสำคัญ บางรายเขาเพิ่มธงปลาร้ายขึ้นอีกธงหนึ่ง เรียกว่า “ธงมัจฉา”

ธงรูปจระเข้หรือธงรูปนางมัจฉานี้ ปักไว้ที่หน้าวัด เพื่อแสดงให้ทราบว่าที่วัดนี้ได้มีการทอดกฐินแล้ว ผู้ที่ผ่านไปมาจะได้พลอยอนุโมทนาด้วย
(นี่เป็นเพียงเรื่องเล่า เป็นเพียงประวัติกล่าวขานในพระไตรปิฎกไม่มีอ้างอิง)