วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กิจวัตร 10 อย่าง


ประโยชน์ของกิจวัตร 10 อย่าง
1. ลงอุโบสถ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. ได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย
2. ทำให้เกิดความสามัคคี
3. มีความบริสุทธิ์
4. มุตตกนิสัย
5. คนเลื่อมใสศรัทธา
6. พาให้เป็นแบบอย่างที่ดี

2. บิณฑบาต เลี้ยงชีพ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. ได้เจริญรอยตามยุคลบาท
2. ได้โอกาสออกกำลังกายตอนเช้า
3. ได้เข้าถึงความสำนึกในพระคุณแม่
4. ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร
5. ได้เห็นความต้องการของประชาชน
6. ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น

3. สวดมนต์ไหว้พระ , ได้ประโยชน์ 6
1. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
2. เข้าใจศาสนพิธี
3. มีจิตเป็นกุศล
4. ทำตนให้แกล้วกล้า
5. ชาวบ้านศรัทธา
6. รักษาสัทธรรม

4. กวาดวิหารลานเจดีย์ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. ได้ออกกำลังกาย
2. ทำให้สถานที่สะอาด
3. ปราศจากโรคภัย
4. จิตใจคลายเครียด
5. เสนียดจัญไรลดลง
6. คงไว้ซึ่งศรัทธา

5. รักษาผ้าครอง , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. ได้ตื่นแต่เช้า
2. เอาใจใส่ในกิจวัตร
3. ฝึกหัดจิตใจ
4. ทำให้สุขภาพดี
5. มีความจำเยี่ยม
6. เตรียมตารางชีวิต

6. อยู่ปริวาสกรรม , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. ได้ปฏิบัติตามกิจวัตร
2. ได้กำจัดอาบัติโทษ
3. ได้โปรดญาติโยม
4. ได้ข่มมานะและทฏิฐิ
5. ปิติปราโมทย์
6. ได้ประโยชน์ในการแพร่ศาสนา

7. โกนผม โกนหนวด ตัดเล็บ , ได้ประโยชน์ 3 อย่าง
1. เป็นการประหยัด
2. ขจัดความสกปรก
3. ยกย่องธรรมเนียม

8. ศึกษาและปฏิบัติครูอาจารย์ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. เข้าใจในหลักของตน
2. พ้นความสงสัย
3. ป้องกันภัยจากอาบัติ
4. ยืนหยัดกตัญญู
5. เคารพครูอาจารย์
6. สืบสานวัฒนธรรม

9. เทศนาบัติ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง
1. เป็นผู้ไม่ประมาท
2. ปราศจากมลทิน
3. มีศีลบริสุทธิ์
4. หยุดความวิปฏิสาร
5. ทำการบอกอาบัติ
6. กำจัดความรังเกียจ

10. พิจารณาปัจจเวกขณะ , ได้ประโยชน์ 3 อย่าง
1. ไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
2. ฉันอาหารไม่เป็นโทษ
3. เป็นประโยชน์แก่กัมมัฏฐาน

ต้องขอยอมรับตัวเองว่าบางข้อต้องใช้พลังกายและใจฝึกจริงๆ แต่ก็ต้องพยายามฝึก เพื่อความเป็นพระในหน้าที่ กิจวัตรสิบข้อนี้ คือ รูปแบบของคนที่จะเป็นพระที่ดี ถึงบางข้อจะห่างเหินการปฏิบัติ แต่เราก็ต้องพยายามรักษากิจวัตร ข้ออื่นๆที่มีโอกาสกระทำให้ได้ เพื่อความเป็นพระที่คนอื่นๆจะกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ และไมเป็นบาปกับตัวเรา บวชพระเพื่อสละลดกิเลศ และเรา คือพระเสขะ ที่ ขจัดขัดถูกิเลศที่กัดใจอยู่เรื่อยไป เพื่อ สุดท้าย เป็นพระอเสขะ
ปัญหา พระอริยสาวกเช่นไรเรียกว่าพระเสขะ พระอริยสาวกเช่นใดเรียกว่าพระอเสขะ ?

พระอนุรุทธะตอบ “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วน ๆ ...บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์...” สติปัฏฐานสี่ คือการกระทำ ที่มีสติ รู้ตัว ทั่วพร้อม อยู้กับปัจจุบัน
การทำกิจวัตรของพระเป็นการฝึกอยู่กับปัจจุบัน ในทางที่ขจัดขัดเกลากิเลศ นี้คือ หนทาง สู่สิ่งสูงสุดหรับชีวิตที่เราควรจะได้รับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น