ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (อมาตาปุตฺติกภย)
ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง.
๓ อย่างคือ :-
มีสมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ตั้งขึ้น ไหม้หมู่บ้าน ไหม้นิคม ไหม้นคร.ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้),บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่หนึ่ง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มหาเมฆ
ตั้งขึ้น เกิดน้ำท่วมใหญ่ พัดพาไปทั้งหมู่บ้าน ทั้งนิคม ทั้งนคร.
ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้),
บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สอง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มีภัยคือการกำเริบ (กบฏ) มาจากป่า ประชาชนขึ้นยานมีล้อ
หนีกระจัดกระจายไป. เมื่อภัยอย่างนี้เกิดขึ้น สมัยนั้นมารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา(เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สาม.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง เหล่านี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันได้) แท้ ๆ๓ อย่างนี้ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้) ไปเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย. ! ภัย ๓ อย่าง ที่มารดาและบุตรช่วยกันได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
สามอย่าง คือ สมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ เป็นอย่างหนึ่ง,
สมัยที่น้ำท่วมใหญ่ เป็นอย่างที่สอง, สมัยที่หนีโจรขบถเป็นอย่างที่สาม; เหล่านี้บางคราวมารดาและบุตรก็ช่วยกันและกันได้ แต่ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับมากล่าวว่าเป็นภัยที่มารดาและบุตรก็ช่วยกันไม่ได้ไปเสียทั้งหมด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้(โดยแท้จริง) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่สามอย่าง คือ
ภัยเกิดจากความแก่ (ชราภยํ),ภัยเกิดจากความเจ็บไข้ (พฺยาธิภยํ),ภัยเกิดจากความตาย (มรณภยํ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! มารดาไม่ได้ตามปรารถนากับบุตรผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด บุตรของเราอย่าแก่เลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนากะมารดาผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่าเราแก่เองเถิด มารดาอย่าแก่เลย ดังนี้.
มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิดมารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิด มารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย ดังนี้.
มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิดบุตรของเราอย่าตายเลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนา
ว่าเราตายเองเถิด มารดาของเราอย่าตายเลย ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล เป็นภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ๓ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย
และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.
ภิกษุ ท. ! หนทางหรือปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘)นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้แหละหนทาง นี้แหละปฏิปทา
เป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย
และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๘ - ๒๓๑/๕๐๒.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มหาเมฆ
ตั้งขึ้น เกิดน้ำท่วมใหญ่ พัดพาไปทั้งหมู่บ้าน ทั้งนิคม ทั้งนคร.
ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้),
บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สอง.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มีภัยคือการกำเริบ (กบฏ) มาจากป่า ประชาชนขึ้นยานมีล้อ
หนีกระจัดกระจายไป. เมื่อภัยอย่างนี้เกิดขึ้น สมัยนั้นมารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา(เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สาม.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง เหล่านี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันได้) แท้ ๆ๓ อย่างนี้ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้) ไปเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย. ! ภัย ๓ อย่าง ที่มารดาและบุตรช่วยกันได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
สามอย่าง คือ สมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ เป็นอย่างหนึ่ง,
สมัยที่น้ำท่วมใหญ่ เป็นอย่างที่สอง, สมัยที่หนีโจรขบถเป็นอย่างที่สาม; เหล่านี้บางคราวมารดาและบุตรก็ช่วยกันและกันได้ แต่ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับมากล่าวว่าเป็นภัยที่มารดาและบุตรก็ช่วยกันไม่ได้ไปเสียทั้งหมด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้(โดยแท้จริง) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่สามอย่าง คือ
ภัยเกิดจากความแก่ (ชราภยํ),ภัยเกิดจากความเจ็บไข้ (พฺยาธิภยํ),ภัยเกิดจากความตาย (มรณภยํ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! มารดาไม่ได้ตามปรารถนากับบุตรผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด บุตรของเราอย่าแก่เลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนากะมารดาผู้แก่อยู่อย่างนี้ว่าเราแก่เองเถิด มารดาอย่าแก่เลย ดังนี้.
มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิดมารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิด มารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย ดังนี้.
มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิดบุตรของเราอย่าตายเลย; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนา
ว่าเราตายเองเถิด มารดาของเราอย่าตายเลย ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล เป็นภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ๓ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย
และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.
ภิกษุ ท. ! หนทางหรือปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘)นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้แหละหนทาง นี้แหละปฏิปทา
เป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัย
และอมาตาปุตติกภัยอย่างละสาม ๆ เหล่านั้น.
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๘ - ๒๓๑/๕๐๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น