วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ธรรมะจากงานศพ

ธรรมะจากงานศพ

http://www.kruamas.com/html/death/grief/3-12.html

พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ), มาหัดตายกันเถอะ

ทุกครั้งที่มีงานศพ ท่านทั้งหลายคงเคยเห็นพระภิกษุในพุทธศาสนาไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอนั้น ก็อาจเข้าใจไปเสียว่าเป็นเรื่องของศาสนาที่จักทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าได้ศึกษาและสนใจในพระพุทธศาสนามาก็นานแล้ว ยังไม่เคยพบเรื่องใดอันเกี่ยวด้วยพิธีการศพเลย พบแต่เรื่องแสดงธรรมเทศนาเท่านั้น ทางพุทธศาสนาไม่มีพิธีสวดส่งวิญญาณของผู้ตาย หรือพิธีอื่นใดทั้งหมด ท่านผู้อ่านอาจนึกค้านว่าแล้วทำไมพระจึงไปสวดที่หน้าศพเล่า ขอให้เหตุผลดังต่อไปนี้ : -

๑. การสวดอภิธรรมหน้าศพนั้น จงเข้าใจว่ามิใช่เป็นการสวดผี - ศพ เพราะผีก็คือซากของคนตายแล้ว ถึงสวดก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ผี อันมีราคาประดุจท่อนซุง การที่นิมนต์พระไปสวดที่บ้านศพ ก็เพียงเพื่อบรรเทาความเศร้าโศกของเจ้าภาพเท่านั้น เพราะความพลัดพรากของรักของชอบใจเป็นความทุกข์ เรื่องจะดับทุกข์ได้ก็โดยการศึกษาให้รู้ความจริงของธรรมดา จะรู้ความจริงก็ต้องฟังจากเรื่องทางพระพุทธศาสนา แล้วจักดับโศกได้ นี่เป็นเหตุให้นิมนต์พระไปสวดอภิธรรมหน้าศพ แต่ผู้ฟังส่วนมาก ๙๙% ไม่เข้าใจว่าท่านสวดอะไร จึงมิได้สนใจฟังเลยกลายเป็นสวดผีตามที่พูดกันจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่า การสวดศพควรมีแต่นิดหน่อย แต่การเทศนาควรมีให้มาก เพราะได้รู้เข้าใจเหตุผล ในบางงานพระนั่งสวดอยู่สี่รูป ชาวบ้านนั่งเล่นหมากรุกกันบ้าง คุยสนุกกันบ้าง ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จักสวดไปทำไมไม่มีประโยชน์ นี่เป็นเหตุผลของการสวดหน้าศพ จำไว้ว่าเพื่อประโยชน์แก่คนเป็น มิใช่คนตาย เราจึงควรกระทำให้ถูกจุดหมาย

๒. แม้พิธีการอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ก็ไม่เคยมีมาแต่ครั้งพุทธกาล เป็นพิธีเพิ่มเข้าโดยความต้องการของความอยากได้ลาภบ้าง พวกอยากได้เกียรติยศชื่อเสียงบ้าง เรื่องความอยากต่าง ๆ ก็มีมาก อันทำความยุ่งยากแก่สังคมมนุษย์อยู่ไม่ใช่น้อย อันพิธีการเหล่านี้ ถ้าหากเป็นพุทธบัญญัติในคัมภีร์แล้ว ก็ต้องมีเหมือนกันหมด ทุกแห่งที่มีพุทธศาสนา แต่พิจารณาดูแล้วไม่เหมือนกันเลย ชาวลังกาทำอย่างหนึ่ง พม่าก็ไปอีกอย่างหนึ่ง ชาวไทยเราอย่างหนึ่ง จีนยังมีพิธีมากขึ้นไปอีก ญี่ปุ่นก็ทำไปอีกอย่างหนึ่ง เป็นไปตามความคิดความนิยมของท้องถิ่นของภาษาในถิ่นนั้น ๆ แต่เขาเอานักบวชในทางศาสนาเข้าไปด้วยเสมอ ก็เพื่อให้พิธีการกลายเป็นศักดิ์สิทธิ์และติดแบบเป็นธรรมเนียมของชาติเท่านั้น

มีสิ่งเหมือนกันในระหว่างชาวพุทธอยู่ก็คือ การบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การสดับพระธรรมเทศนาในงานศพเท่านั้น ส่วนพิธีอื่นนอกจากนี้เป็นพิธีของท้องถิ่นเท่านั้น เราอย่ายึดติดกันให้มากเกินไป ทำกันพอดีพองาม อย่าให้ถึงขนาดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หรือคนตายขายคนเป็นกันเลย

ทีนี้เราลองหันไปพิจารณาถึงสมัยอดีตกาลบ้างว่า เขามีพิธีจัดงานศพต่างกันอย่างไร ตามเรื่องที่มีมาในตำนานพระศาสนาอันเกี่ยวกับศพ

งานศพของพระพุทธบิดา

ในหนังสือกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงพระประชวร ก็ส่งข่าวไปยังพระพุทธเจ้าว่า ปรารถนาจะฟังธรรม พระพุทธองค์เสด็จมาเยี่ยม เมื่อเห็นว่าอาการมากแล้วคงไม่รอดจากความตาย จึงได้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง เพื่อให้จิตได้เบิกบานด้วยรสแห่งพระสัทธรรม และพุทธบิดาก็ถึงแก่ความตาย เมื่อตายแล้ว พระศาสดาตรัสสั่งพระญาติและสาวกไปจัดที่เผา คือจัดกองฟืนเท่านั้น แล้วนำศพไปเผาในวันนั้นเอง โดยมิได้มีพิธีการแต่อย่างใดเลย นอกจากสรงน้ำพระศพห่อผ้าขาวใส่ในโลง นำไปเผาเท่านั้น ไม่มีธงหรือเครื่องแห่ ไม่มีการประโคมด้วยดนตรีนานาชนิด ไม่มีการเวียนพระเมรุ (เพราะไม่ได้ทำเมรุ) ไม่มีการทำปราสาทเพื่อเผาไฟ เป็นพิธีเผาอย่างง่าย ๆ และสิ้นเปลืองน้อยทุกอย่าง เผาแล้วก็ไม่ปรากฏทำอะไรต่อไปอีก แต่น่าจะมีการเก็บกระดูกเอาไปทิ้งน้ำในที่ใดที่หนึ่งตามประเพณีพื้นเมืองของอินเดีย

งานศพพระสารีบุตร

พระสารีบุตรเป็นมือขวาของพระศาสดา ในการช่วยพระองค์ประกาศศาสนาให้แพร่หลาย เป็นพระสาวกที่ทำงานมากคู่กันกับพระโมคคัลลานะ คำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นของพระมหาเถระรูปนี้อยู่ไม่น้อย ชีวิตของท่านเป็นตัวอย่างของนักบวชที่ทำประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ครั้นถึงคราวที่ท่านจักตาย ท่านรู้ตัวท่านเองดีแล้ว จึงไปทูลลาพระศาสดาเพื่อนิพพาน ทรงพระอนุญาตแล้วก็เดินทางไปบ้านเดิมของท่านที่ตำบลนาลันทาเพื่อเทศนาโปรดมารดาผู้ยังมีความเห็นผิดอยู่ และได้นิพพานที่นั่น พวกญาติก็จัดการถวายเพลิงศพอย่างง่าย ๆ และเก็บกระดูกห่อผ้าขาวนำไปถวายพระศาสดาที่เวฬุวัน จึงสั่งให้ก่อสถูปไว้ที่ทางสี่แพร่งเพื่อเป็นที่สักการะของประชุมชนต่อไป นี่ก็เป็นงานศพที่ง่าย ๆ ไม่มีพิธีอันใดเหมือนกัน

งานพระบรมศพของพระพุทธเจ้า

ในวันที่จักปรินิพพาน พระศาสดาเสด็จเดินทางจากเมืองเวสาลีผ่านหมู่บ้านเป็นลำดับ เพื่อจักไปนิพพานที่เมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง ก่อนหมดลมหายใจพระอานนท์ได้ทูลถามว่า "เมื่อปรินิพพานแล้วจักปฏิบัติต่อพระสรีระโดยวิธีใด?" ตรัสตอบว่า " ดูก่อน อานนท์! พวกเธอผู้เป็นพระภิกษุบริษัท อย่าขวนขวายเพื่อการบูชาต่อสรีระของเราเลย อานนท์! เราขอเตือนเธอทั้งหลาย จงพยายามทำให้มากในประโยชน์ของเรา (คือ การทำตนให้พ้นจากกิเลส) จงมีความเพียรเป็นเครื่องแผดเผากิเลสบาปกรรมให้เบาลงไป มุ่งต่อที่สุดทุกข์โดยเสมอเถิด อานนท์เอ๋ย! การบูชาต่อสรีระของตถาคตนั้น มันมิใช่เป็นกิจเป็นหน้าที่ของภิกษุ แต่เป็นหน้าที่ของฆราวาสเขา พวกพระราชา พราหมณ์ ผู้มีศรัทธาในเรามีอยู่ เขาจักทำเอง หน้าที่โดยตรงของภิกษุคือการรีบทำความเพียรเพื่อถึงที่สุดทุกข์ แล้วจักได้ช่วยผู้อื่นต่อไป" ข้อความตอนนี้เท่ากับทรงย้ำไว้ให้พวกภิกษุเข้าใจว่าพระมีหน้าที่อย่างไร? พระศาสดาไม่ทรงชมเชยความฟุ่มเฟือย ที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ครั้นปรินิพพานแล้ว พวกมัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินาราเป็นเจ้าภาพ จัดแจงห่อพระศพด้วยผ้าขาวและสำลี ๕๐๐ ชั้น แล้ววางพระศพลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมันหอมปิดฝา เพราะเป็นพระศพของผู้ที่โลกบูชามาก จึงช้าอยู่ถึง ๖ วัน พอถึงวันที่ ๗ ก็นำไปถวายพระเพลิงนอกพระนคร นี่เป็นวิธีการเผาศพครั้งกระโน้น

งานศพท่านธัมมปาละ

ท่านธัมมปาละ เป็นลูกหัวปีของตระกูลเหวาวิตานในเกาะลังกา ครอบครัวนี้เป็นผู้มั่งมีมาก ไม่ใช่มีแต่เงิน มีคุณงามความดีด้วย บิดามารดาของท่านเป็นผู้รักและนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง เตรียมพร้อมเพื่อเสียสละ พระศาสนาในยุคนั้นกำลังมืดมัว เพราะถูกพวกศาสนาอื่นเบียดเบียน นายธัมมปาละหนุ่มน้อยได้มีใจเสียสละทุกอย่าง โดยยปฏิญาณตนเป็นพรหมจารี คือบวชแล้วทำงานกู้พระศาสนาโดยการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิขึ้น สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล เที่ยวเทศน์สอนคนให้พบแสงสว่างทั้งในลังกา ท่านได้ไปถึงยุโรปและอเมริกาเพื่อการประกาศธรรมะของพระพุทธเจ้า ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักของนักศึกษาทั่วโลก ผลงานที่ท่านทำกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่าของพระเถระของเราสิบรูปรวมกันเข้า โลกได้รู้จักพระพุทธศาสนามากขึ้นเพราะท่านผู้นี้ ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ พอใจในสิ่งที่พอยังชีพเท่านั้น ท่านไม่มีอะไรเป็นของท่าน ท่านทำงานเพื่อประชากรของโลก เมื่อร่างกายของท่านแก่ลงแล้ว ท่านบวชเป็นพระภิกษุ มอบงานให้ผู้อื่นทำต่อไป หันเข้าหาความสงบ และได้ถึงแก่กรรมที่สารนาถ อินเดีย ก่อนตายท่านสั่งไว้ว่า ท่านตายแล้วจงเผาศพอย่างง่าย ๆ ไม่ต้องจ่ายเงินทองให้เสียเปล่า จงเก็บเงินไว้เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากโรคใจเถิด เมื่อข่าวมรณะของท่านก้องไปทั่วทางวิทยุ โทรเลข แสดงความเสียใจนับจำนวนร้อยได้มาถึงสมาคม ในวันเผาศพไม่มีพิธีอย่างใดหมด นอกจากเพื่อนฝูงและคนนับถือไปประชุมเผากันอย่างเงียบ ๆ เป็นการไว้อาลัยท่าน อาลัยในผลงานของท่านเท่านั้น ไม่มีการทำอะไรฟุ่มเฟือยไร้สาระเลยสักนิดเดียว แต่งานของท่านยังไม่ตายติดอยู่กับโลกนี้เสมอ

พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้นำท่านไปดูงานศพในสมัยก่อนมามากแล้ว จุดหมายก็เพียงเพื่อชี้ชวนท่านทั้งหลายให้ได้รู้ได้เห็นว่า การทำศพของคนที่ฉลาดในเหตุผลนั้น เขาทำกันอย่างไร เขามองเห็นการณ์ไกลอย่างไร และเป็นการแนะนำให้เข้าใจว่า ประเพณีทำศพนั้นเป็นแต่ประเพณีพื้นบ้านโดยเฉพาะ หาเป็นเรื่องของศาสนาไม่ การมีพระเข้าไปเกี่ยวข้องบ้างนั้น ก็เพื่อระงับความโศกเศร้าของเจ้าภาพบ้าง เพื่อแนะนำในทางดีทางชอบบ้าง เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้อยู่ อันเป็นเหตุมาจากผู้ตายเท่านั้น เมื่อเข้าใจเหตุผลตามที่เป็นจริงแล้ว จักได้พิจารณากันถึงงานศพในสมัยปัจจุบันนี้บ้างว่า เป็นการดีชอบเพียงใด เสียไปเพียงใดบ้าง

การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ

http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-07.htm

คัดลอกจาก http://www.geocities.com/gogfox/aphithum2.html

ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร

ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว

ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)

ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้

๑ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒ การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ) เรื่องเจตสิก เรื่องอำนาจจิต เรื่องวิถีจิต เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ ไปได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง

๓ ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์ หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

๔ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕ การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนำไปสู่ การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

๖ การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ

๗ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม

๘ การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป

พระสวดอะไร....... ในงานศพ

Posted by กระถางธูป ,
หมวด : ไดอารี่
ปุจฉา (21)
http://www.oknation.net/blog/katangtup/2008/02/06/entry-5

เวลาไปงานศพ บ้างก็ว่าที่พระสวดนั้น พระสวดให้ผู้ตาย ฟัง คนที่ไปงานไม่ต้องพนมมือ บ้างก็ว่าท่านสวดให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ฟัง เลยต้องพนมมือ ความจริงแล้วในงานศพ พระท่านสวดอะไร

ให้ใครฟัง ก็คงจะไม่มีใครรู้เรื่องอยู่ดี เพราะสวดเป็นภาษาบาลี แล้วดังนั้นที่ถูกต้องจะต้องพนมมือหรือไม่ เพราะเหตุใดเจ้าคะ (ทำไมท่านอาจารย์ไม่แปลบทสวดมนต์ทั้งหลายให้เป็น

ภาษาไทย ทำนองเพราะๆ ที่ฟังเข้าใจง่ายแบบชาวคริสต์บ้างล่ะเจ้าคะ คนฟังจะได้รู้เรื่อง และจะได้ Get ในบทสวดมนต์มากยิ่งขึ้นค่ะ ตอนงานคุณแม่ พระที่วัดชลประทานฯ สวดมนต์จบ

เดียวแล้วก็แสดงธรรมเลย ชอบพิธีกรรมแบบนั้นมากค่ะ นั่งฟังเพลินดี ได้ประโยชน์ในการดึงสติตัวเองด้วย)
ปริษา/กรุงเทพฯ
วิสัชนา (21)
ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้

(1) ความจริงถ้าสังเกตให้ดีปัญหาที่ถามมานั้น ก็มีคำตอบอยู่แล้วในตัวเอง เพราะคนที่จะสามารถ 'ฟัง' ได้นั้น จะต้องเป็นคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในกรณีนี้ก็หมายถึงคนที่ไปร่วมงานศพนั่นเอง ไม่ใช่คนที่นอนอยู่ในโลง

(2) บทสวดมนต์ที่พระนำมาสวดนั้นเรียกว่า 'พระอภิธรรม' มี 7 บทคือ 1.สังคิณี 2.วิภังค์ 3.ธาตุกถา 4.ปุคคลบัญญัติ 5.กถาวัตถุ 6.ยมก 7.ปัฏฐาน แต่ละบทเป็นเนื้อหาธรรมะเชิงวิชาการล้วนๆ ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป หรือบางทีแม้แต่พระผู้สวดเองก็มีน้อยรูปที่จะเข้าใจ แต่ทั้งๆ ที่เข้าใจยากอย่างนั้น แต่ทำไมท่านก็ยังนำมาสวด หลายคนคงอยากทราบเหตุผล
ข้อนี้เป็นแง่ ในทัศนะของผู้เขียน ( ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ) เข้าใจว่าเพื่อให้คนทั่วไปได้ฟังไว้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภายหน้ า หรือเป็นเพราะว่าท่านต้องการรักษาแก่นธรรมเอาไว้ไม่ให้สูญ เพราะการที่พระจะต้องนำพระอภิธรรมมาสวดอยู่เสมอนั้น เป็นการบังคับอยู่ในตัวว่า พระจะต้องจดจำ หรือจะต้องศึกษาพระอภิธรรมให้ได้ มองในแง่นี้ก็ต้องถือว่าเป็นกุศโลบายที่แยบคายของบุรพาจารย์ท่านแต่ก่อนที่น่ายกย่อง เพราะหากไม่นำพระอภิธรรมมาบัญญัติไว้ให้เป็นบทสวดในงานศพ บางทีพระอภิธรรมอาจถูกลืมไปแล้วก็ได้ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมด้วยเหมือนกัน

(3) การฟังสวดพระอภิธรรมนั้น แม้เราจะยังไม่เข้าใจ แต่การได้ฟังไว้บ้างก็ยังเป็นผลดีอยู่นั่นเอง เพราะขณะฟัง หากตั้งใจฟังอย่างดี ก็ย่อมมีสมาธิได้เหมือนกัน การตั้งใจฟังสวดด้วยดี จนเกิดสมาธิจัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง เรียกว่า 'ภาวนามัย' คือบุญที่เกิดจากการฝึกจิต เมื่อเราตั้งใจฟัง เราก็ได้บุญ และน้อมอุทิศบุญที่เกิดจากการตั้งใจฟังสวดนี้เอง อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายอีกทีหนึ่ง คนที่มาร่วมงานศพ แต่ไม่ตั้งใจฟังสวด จะเอาบุญจากที่ไหนมาอุทิศให้ผู้วายชนม์

(4) การฟังสวดพระอภิธรรม หรือบทสวดมนต์อื่นๆ ก็ตาม ควรจะพนมมือไว้เสมอ เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม และต่อพระสงฆ์ผู้สวด รวมทั้งเพื่อแสดงความเคารพ
( หรือให้เกียรติ ) แก่ผู้วายชนม์ แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างฟังสวดพระอภิธรรม หากพนมมือจนเมื่อย ก็สามารถเอามือวางลงบนตักชั่วคราว แล้วอยู่ในอาการอันสงบสำรวม ฟังสวดพระอภิธรรมต่อก็ได้
(5) ว่าโดยหลักการแล้ว หลังสวดพระอภิธรรมจบ พระก็ควรจะเทศน์หรือแสดงพระธรรมเทศนา เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้น ท่านวางเป็นแบบแผนไว้ก็เพื่อใช้เป็นสื่อในการดึงคนเข้าหาธรรม แต่การแสดงธรรมนั้นไม่ใช่จะทำได้ง่าย หากไม่ใช่ภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถจริงๆ แล้ว ยิ่งพยายามแสดงธรรมอาจจะยิ่งทำให้คนฟังเบื่อการฟังธรรมไปเลยก็เ ป็นได้ ดังนั้น ในบางวัดที่ขาดพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรม ท่านจึงไม่เน้นการแสดงธรรม หากแต่เน้นการสวดเป็นหลัก เมื่อพระภิกษุผู้สามารถในการแสดงธรรมหายาก การสวดพระอภิธรรมก็เลยเน้นแต่การสวดแล้วก็จบแค่นั้น ล่วงกาลนานไป ก็เลยเกิดเป็นความเข้าใจขึ้นมาว่า ในงานศพจะมีแต่การสวดเป็นหลัก ไม่เน้นการเทศน์ ซึ่งนับว่านี่เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของชาวพุทธในเ มืองไทย

6) ที่วัดชลประทานฯ นั้น พระเดชพระคุณเจ้าอาวาส คือ พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทะ) เป็นพระปัญญาชน เป็นพระนักปราชญ์ ที่ศึกษาพระพุทธศาสนามาเป็นอย่างดี มี ฐานันดรเป็นดังน้องชายในทางธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุองค์หนึ่ง จึงมีความรู้พระพุทธศาสนาที่หนักแน่นเป็นแก่นสาร จับสาระของพระพุทธศาสนาได้แม่นทั้งทางปริยัติและ

ปฏิบัติ พร้อมทั้งยังสอนให้ศิษยานุศิษย์ในวัดเป็นพระชั้นนำเช่นตัวท่านเ องด้วย ด้วยเหตุนี้ที่วัดชลประทานฯ จึงไม่ขาดพระนักเทศน์ผู้สามารถ งานศพที่จัดขึ้นในวัดชลประทานฯ

จึงไม่เน้นการสวดมากนัก หากเน้นการแสดงธรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมอย่างนี้นับว่าน่าอนุโมทนายิ่งนัก เพราะพิธีกรรมต่างๆ นั้นมีขึ้นก็เพื่อต้องการ 'นำคนเข้าสู่ธรรม' หากพิธีกรรม

ไม่สื่อธรรม พิธีกรรมนั้นก็แทบไร้ความหมาย แม้จะมีคุณค่าก็นับว่าน้อยนัก การที่ทางวัดวางเป็นหลักไว้ว่า พระจะต้องเทศน์ได้ ทำให้พระต้องตั้งหน้าศึกษาพระธรรมวินัยให้รู้จริง การที่คฤหัสถ์มาวัดแล้วได้ฟังเทศน์ ทำให้ได้เรียนรู้ธรรมะไปในตัว ซึ่งนับว่าเป็นกำไรชีวิต และเป็นการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่แท้ของพิธีกรรมซึ่งทำหน้าที่เป็น 'สื่อ' นำคนเข้ามาสู่ธรรมดังกล่าวแล้ว

ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พิธีกรรม คือ สื่อที่จะนำคนเข้าสู่ธรรม

ถ้าพิธีกรรม ไม่นำคนเข้าสู่ธรรม หรือไม่เปิดโอกาสให้คนได้รู้จักธรรม พิธีกรรมนั้นๆ ก็ไร้ความหมาย พิธีกรรมอาจเป็นได้แค่ 'พิธีพราหมณ์' ที่ไม่มีแก่นสารอะไรในทางธรรมเอาเลย คงมีแต่การ

ทำไปอย่างนั้นเองพอเป็นพิธี ไม่รู้ว่าเพื่อใครและเพื่ออะไร การที่คนไทยส่วนใหญ่เบื่อพิธีกรรมในวัดก็เพราะพระ ( รวมทั้งชาวพุทธของเราเองด้วย ) ไม่สามารถสอดใส่สาระลงไปในพิธีกรรม

เหล่านั้นนั่นเอง
ทุกวันนี้ คนไทยก็เลยพากันไปติดอยู่ที่พิธีกรรมอันเป็นสื่อของธรรมเท่านั้ น พากันหลงลืมธรรมอันเป็นแก่นสารไปอย่างน่าเสียดาย ยามเราไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพ จึงไม่สู้ได้อะไร

มากมายนัก นอกจากฟังสวดจบแล้วก็กลับบ้าน หรือบางงานก็มีเลี้ยงข้าวต้มแล้วก็จบพิธีกรรมอย่างห้วนๆ ไม่มีอะไรในทางจรรโลงใจให้สูงส่งขึ้นมาเลย บางวัดมีคนไปร่วมงานศพเป็นพัน

ทั้งๆ ที่เป็นงานของผู้มีชื่อเสียง นั่นเป็นโอกาสดีที่สุดที่พระจะได้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก แต่พระก็เฉยเสีย ไม่เพียงแต่ไม่แสดงธรรมเท่านั้น บางทีแม้แต่ญาติโยมท่านก็ไม่เอ่ยปากทักทาย

ด้วยซ้ำไป เสียดายโอกาสในการแสดงธรรมเหลือเกิน

ทำไมจึงเป็นอย่างนี้
หนึ่ง เป็นเพราะวัดนั้นขาดพระสงฆ์ผู้สามารถในการแสดงธรรมสอง เพราะเราละเลยแก่นสารตรงนี้มานาน จึงไม่มีใครมองเห็นคุณค่า ก็เลยเข้าใจกันว่า มางานศพเพื่อฟังสวดก็จบแล้ว ไม่มีอะไรมากกว่านั้น

(7) เรื่องการแปลบทสวดมนต์เป็นภาษาไทยให้ไพเราะและมีสาระนั้น ตั้งใจว่าจะทำอยู่แล้ว เคยคิดชื่อไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่า ' สวดเป็นก็เห็นธรรม ' คำถามแกมขอร้องข้อนี้ ผู้เขียนยินดี รับคำอาราธนา แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเสร็จเป็นรูปร่างอย่างที่อยากเห็นกัน
เรียกว่าบทสวดอภิธรรม หรือที่เราเรียกว่า งานสวดอภิธรรมศพ
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=529bff04d0b2d6d3

********************************
ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่า มีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ผู้วายชนม์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่างๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะ มิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ทำให้เห็นสัจจธรรมที่แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพ จะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว

ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)

ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์ มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ ( คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว ) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด

http://www.oknation.net/blog/dhammatoday

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น