วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เสขิยวัตร


          เสขิยวัตร หมายถึง วัตรที่ภิกษุสามเณรจะต้องศึกษาธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุสาเณรพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ เป็นพุทธบัญญัติที่ได้เตือนสติให้ภิกษุสงฆ์สามเณรพึงสำรวมกาย วาจา ใจ เมื่อเข้าไป อยู่ในที่ชุมชนหรือในละแวกบ้านของผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดความเลื่อมใสของบุคคลในชุมชนนั้นๆ จะได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
         เสขิยวัตรนั้น จัดเป็น ๔ หมวด หมวดที่ ๑ เรียกว่า สารูป, หมวดที่ ๒ เรียกว่า โภชนปฏิสังยุต, หมวดที่ ๓ เรียกว่า ธัมมเทสนาปฏิสังยุต, หมวดที่ ๔ เรียกว่า ปกิณณกะ.

หมวดที่ ๑ : สารูป มี ๒๖ ข้อ
(ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน)

๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."
๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักห่มเป็นปริมณฑล".
๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน".
๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน”.
๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน".
๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน."
๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน."
๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน."
๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า."
๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า."
๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความ หัวเราะลั่น."
๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น."
๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน."
๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน."
๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน."
๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวกบ้าน."
๑๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน."
๑๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน"
๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน."
๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน."
๒๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน."
๒๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน."
๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) ไปในละแวกบ้าน."
๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่คลุม (ศีรษะ) นั่งในละแวกบ้าน."
๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระโหย่ง."
๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความรัดเข่า."

หมวดที่ ๒ : โภชนปฏิสังยุต มี ๓๐ ข้อ
(ว่าด้วยการฉันอาหาร)

๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."
๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับบิณฑบาต."
๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.”
๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ."
๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."
๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต."
๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง."
๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน."
๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต."
๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก."
๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน."
๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น."
๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก."
๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม."
๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก."
๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.”
๑๗. พึงทำศึกษาว่า "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด."
๑๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเดาะ คำข้าว.”
๑๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว."
๒๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.”
๒๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันสลัดมือ."
๒๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก."
๒๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.”
๒๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.”
๒๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ
๒๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียมือ."
๒๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันขอดบาตร."
๒๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก."
๒๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส."
๓๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน."

หมวดที่ ๓ : ธัมมเทสนาปฏิสังยุต มี ๑๖ ข้อ
(ว่าด้วยการแสดงธรรม)

๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ."
๒. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ."
๓. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ."
๔. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ."
๕. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า."
๖. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า."
๗. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน."
๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน."
๙. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า."
๑๐. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ."
๑๑. พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ."
๑๒. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ."
๑๓. พึงทำศึกษาว่า "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง."
๑๔. พึงทำศึกษาว่า "เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งอยู่."
๑๕. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า."
๑๖. พึงทำศึกษาว่า "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง."

หมวดที่ ๔ : ปกิณณกะ มี ๓ ข้อ
(เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด)

๑. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ."
๒. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว."
๓. พึงทำศึกษาว่า "เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะในน้ำ.”
     *สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี) ๘๐/๒๕๕๐ (๕๐/๒๔๙๓)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น